วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ความหมายศัพท์หลาย นัย ประโยชน์ จากการใช้ ThaiNewGenDict

ความหมายศัพท์หลาย นัย ประโยชน์ จากการใช้ ThaiNewGenDict และ การทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

อสฺส มีความหมาย ๓ อย่าง

๑ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม อสฺส ม้า
อาลปนะ เอก. แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่, โอ ม้า คำการร้องเรียก
อาลปนะ
๒. (ควร )มี เป็น (พึง )มี เป็น
อนุมติ อนุญาต ปริกปฺป การคาดคะเนระหว่างเหตุกับผล
กาลอันถูกกล่าวใกล้ ๆ
อสธาตุ + อปัจจัย + สัตตมีวิภัตติ ปรัสบทอย่างเดียว อสฺส
ปรัสบท เอก ปฐม ปรัสบท เอก มัชฌิม

อสฺสํ มีความหมาย ๒ อย่าง

๑ นาม ปุง. กลุ่ม ปุริส ศัพท์เดิม อสฺส ม้า
ทุติยา เอก. ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ ม้า กรรมในประโยค
อวุตตกัมมะ สัมปาปุณียกัมมะ การิตกัมมะ อัจจันตสังโยคะ อัจจันตสังโยคะ อกถิตกมฺม
๒ (ควร )มี เป็น (พึง )มี เป็น
อนุมติ อนุญาต ปริกปฺป การคาดคะเนระหว่างเหตุกับผล
กาลอันถูกกล่าวใกล้ ๆ
อสธาตุ + อปัจจัย + สัตตมีวิภัตติ ปรัสบทอย่างเดียว อสฺส
ปรัสบท เอก อุตตม

ภวิสฺสติ มีที่มา หรือ ทำตัวรูป ได้ ๓ แบบ

(จัก)มี เป็น
กาลที่ยังมาไม่ถึง
มีที่มาจาก ๓ รูป
๑ ภู ธาตุ + ภวิสสันตีวิภัตติ ภวิ
๒ อสธาตุ + ภวิสสันตีวิภัตติ อิอาคม ภวิ
๓ ภวิสฺสนฺตุ สมึ (แปลง นฺตุ กับ สมึ เป็น ติ ด้วย โตติตา สสฺมึนาสุ)
ปรัสบท เอก ปฐม




วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การใช้โปรแกรม ThaiNewGendict เพื่อตรวจสอบการทำตัวรูป

การใช้โปรแกรม ThaiNewGendict เพื่อตรวจสอบการทำตัวรูป คำที่มีใช้งานอยู่จริง

พื้นฐาน โปรแกรม ThaiNewGenDict ได้มีการดึงคำศัพท์ จากพระไตรปิฎก บาลีสยามรัฐมาครบถ้วนแล้ว มาไว้ในระบบฐานข้อมูลของโปรแกรม

จะเห็นว่าในแบบเรียน อาจทำตัวอย่างไว้ไม่ครบทุกคำศัพท์ ดังนั้นในฐานะผู้ศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือเพื่อคอยตรวจสอบการใช้งานที่มีอยู่จริง โดย จะต้องมีคลังคำศัพท์ที่มากพอ ซึ่ง ThaiNewGenDict มีคำศัพท์บาลี ที่ใช้จริงมากกว่า แสน ๗ หมื่นคำ


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการทำตัวรูป อาขยาต ด้วยคอมพิวเตอร์

วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการทำตัวรูป อาขยาต ด้วยคอมพิวเตอร์

คลิปนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แบบ เร่งด่วน ในขณะทำตัวรูป เพื่อความรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อการนำไปปรับปรุงและใช้เป็นการถาวรณ์ต่อไป


วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ThaiNewGenDict Version 2.3.0.0

ThaiNewGenDict Version 2.3.0.0

ThaiNewGenDict โฉมใหม่




เพิ่มความน่าเชื่อถือ ให้กับผู้ใช้ โปรแกรม ThaiNewGenDict ไปอีกขั้นด้วยการ เพิ่มช่อง
ให้สามารถกรอกข้อมูล หนังสืออ้างอิง หรือ ที่มาของคำศัพท์ คำแปล และ อุทาหรณ์ ได้


ขั้นตอนการติดตั้ง

ข้อควรระวัง ควรเก็บไว้แยกโฟลดเดอร์กับของเดิม เพื่อไม่ให้ฐานข้อมูลเดิมถูกลบไป

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

6.29 นาที จุดสังเกตุ หลักการทำตัวรูปง่ายๆ ๒ วิภัตติ สุดท้าย ของอาขยาต

จุดสังเกตุ หลักการทำตัวรูปง่ายๆ ๒ วิภัตติ สุดท้าย ของอาขยาต

ภวิสสันตีวิภัตติ
กาลาติปัตติวิภัตติ
ให้ท่านผู้ศึกษา ลองฝึกทำด้วยตนเองตามจุดสังเกตุ ที่เสนอโดยวิธีนี้ (เพื่อการเรียนรู้ที่รวดเร็วในกาลต่อไป)

หนังสือที่ใช้อ้างอิง นามาขยาต


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

12.22 นาที เจาลึก อัชชตนี KeyPoint

12.22 นาที เจาลึก อัชชตนี KeyPoint จากการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

เจาลึก อัชชตนี KeyPoint
เจาะสูตรตัวรูปที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
อัตโนบทไม่มีรูปพิเศษ = n
อัตโนบท อุตมบุรุษ เอกไม่มีรูปพิเศษ = n
ปฏิเสธ ซ้อน ปฏิเสธ (ไม่ กับ ไม่ คือ ใช่ (มี)) จะเห็นว่ามีครบ

อัตโนบทไม่มีรูปพิเศษ = y
อัตโนบท อุตมบุรุษ เอกไม่มีรูปพิเศษ = y
จะเห็นว่าไม่มี ในรูปที่กำหนด

หลักการทำตัวรูปไวยากรณ์ เบื้องต้นต้อง สามารถนำไปใช้ให้ได้มากที่สุดในวิภัตตินั้นๆ
บันทึกการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ ข้อดีอีกอย่างสามารถ ทำให้เรารู้ได้ว่าในพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐนั้นมีใช้หรือไม่
จากการทำตัวรูป บางชุดจะเห็นได้ว่า ไม่มีอยู่ใน พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ นั้น โดยส่วนตัวยังคงมีความเชื่อใน ๓ ลักษณะคือ
๑ ใน อดีต ภาษาดั้งเดิม น่าจะมีการใช้มากกว่าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ดั่ง พุทธพจน์ ที่กล่าว คำสอนเปรียบดั่งใบไม้ในกำมือ
๒ ภาษาอังกฤษ ที่มีใช้ทั้งหมด มีมากกว่าที่ระบุในหนังสือสอนคอมพิวเตอร์ หรือ เทคโนโลยี ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง
หลักการตรงนี้ สามารถนำไปใช้กับพระไตรปิฎก ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้หมดข้อกังขาเรื่องพุทธพจน์ ทั่วโลกตรงกันหรือไม่ หรือ ทำให้ทราบแน่ชัดว่าที่ไม่ตรงกันเพราะอะไร
๓ ตามความเห็น ผู้จัดทำ ณ.ปัจจุบัน พฤษจิกายน พศ.๒๕๖๒ คาดว่าการที่บันทึกไม่ตรงกันน่าจะเกิดจากฐานกรณ์ ด้วยอึกประการหนึ่ง เพราะ สมัยโบราณเป็นการท่องจำสืบต่อกันมา และ การบันทึกเป็นอักษรได้เกิดขึ้นมาภายหลัง

เนื่องจากหลังทำตัวรูป ตามหลักบาลีไวยากรณ์ ของ ปทรูปสิทธิ ซึ่ง มีเป็นจำนวนมาก เป็น % เมื่อเทียบในบาลีสยามรัฐ สิ่งที่ต้องหาคำตอบต่อไปคือ โดยมากของตำรานี้ เทียบกับตำราชุดใด
ซึ่งทางผู้จัดทำจะได้ทำบันทึกศัพท์ ตาม ไวยากรณ์ ของตำรานี้อีกครั้งหนึ่งในกาลต่อไป ตามที่เวลาจะอำนวย

ประโยชน์ ของการใช้ Software บันทึกข้อมูลอีกประการหนึ่ง คือ ลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง และ สามารถแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างกันได้ทั่วโลก ในเสี้ยวนาที

บางท่านอาจมองว่า การทำตัวรูปทำได้ยาก เฉกเช่นเดียวกับการจำให้ได้มากครบ 100% ในทุกคำศัพท์ตามหลักบาลีไวยากรณ์ ตรงนี้ไม่รวมถึงผลเสียที่เกิดจากการจำผิดพลาด
หมายเหตู คอมพิวเตอร์ มีสังขารที่ยาวนานกว่าร่างกายมนุษย์ ตราบที่พลังงานของโลกยังไม่หมด ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยังไม่ล่มสลาย

เอวัง


วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

37.05 นาที สูตรทำตัวรูปที่ซับซ้อน ๒ วิภัตติคู่ ปโรกขาวิภัติ อัชชตนีวิภัตติ

37.05 นาที สูตรทำตัวรูปที่ซับซ้อน ๒ วิภัตติคู่ ปโรกขาวิภัติ อัชชตนีวิภัตติ

พร้อมหลักการช่วยจำจากการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์

วันนี้เสนอ การทำตัวรูป ๒ วิภัตติ ไม่มีเสียง Background เนื่องจากมีจุดสังเกตุค่อนข้างมาก
๑ ปโรกขาวิภัติ
ไม่มี อ อาคม หน้าธาตุ
ประกอบคำว่า แล้ว ใช้ใน อดีตล่วงแล้วไม่มีกำหนด
ดูการทำตัวรูปกันเลย
ที่ท่องในตำรา ปรัสบท คือ
อ อุ เอ ตฺถ อํ มฺห
การใช้จริง
อ อุ เอ ิตฺถ อํ ิมฺห
อัตตโนบท คือ
 ิตฺถ ิเร ิตฺโถ ิวฺโห อึ ิมฺเห
หมายเหตุ สมัยก่อนใช้พิมพ์ดีด และ โปรแกรมเอกสารทั่วไปไม่สามารถพิมพ์ สระ ิ ตัวเดียวได้ จึงเป็นที่มาว่าต้องพิมพ์ อิตฺถ แต่เนื่องจาก โปรแกรม spreadsheet ที่ใช้อยู่นี้ Libreoffice สามารถใช้ได้ จึงใช้รูปสระโดด เพราะ ทำให้สูตรคอมพิวเตอร์สั้นลง
สำหรับ ปโรกขฯ มีหลักการทำตัวรูปเท่านี้ ลองทดสอบสูตรกันดู
ปรัสสปทัตตะ
y
สำหรับประโยคกรรม

๒ อัชชตนี วิภัตติ
การทำตัวรูปซับซ้อนที่สุด
ให้จัดช่องให้ตรงกับวีดีโอ เพื่อให้สูตรที่ใช้ตรงกัน
เพื่อความรวดเร็วของการบันทึกให้ หยุด วีดีโอชั่วคราวขณะที่ทำสูตรบนคอมฯ ตาม

นมัสการ ขอกราบขอบพระคุณผู้ติดตามชม (หลังทำตัวรูปเสร็จควรบันทึก พร้อมคำแปลลงใน โปรแกรม ThaiNewGenDict เพื่อการค้นหาได้สะดวกในภายหน้า)