วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 14 มิย 2562

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี 14 มิย 2562

บาลีใหญ่ ท่ามะโอ อาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี วิภัตติ วาจก ธาตุ แบบสัมพันธ์ 14 มิย 2562 โดยท่านอาจารย์ อุดม เขมานันท์
(โปรดใช้หูฟัง)

บาลีอาขยาต, บาลีใหญ่ท่ามะโอ, บาลีเรียนสบาย, ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม นามาขยาต ปทรูปสิทธิบาลี กัจจายนสุตตปาฐะ

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 14 มิย 2562 ตอนที่ 1



ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 14 มิย 2562 ตอนที่ 2



ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 14 มิย 2562 ตอนที่ 3


วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี 13 มิย 2562

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี 13 มิย 2562

บาลีใหญ่ ท่ามะโอ อาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี วิภัตติ วาจก ธาตุ แบบสัมพันธ์ 12 มิย 2562 โดยท่านอาจารย์ อุดม เขมานันท์
(โปรดใช้หูฟัง)

บาลีอาขยาต, บาลีใหญ่ท่ามะโอ, บาลีเรียนสบาย, ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม นามาขยาต ปทรูปสิทธิบาลี กัจจายนสุตตปาฐะ

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 13 มิย 2562 ตอนที่ 1



ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 13 มิย 2562 ตอนที่ 2



ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 13 มิย 2562 ตอนที่ 3



ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 13 มิย 2562 ตอนที่ 4


วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมา ตำนาน บาลีใหญ่ เมืองไทย

ประวัติ ตำนาน บาลีใหญ่ ประเทศไทย


ประวัติ ความเป็นมา บาลีใหญ่ เมืองไทย รวบรวมเนื่องในโอกาส ครบรอบ มรณภาพ หลวงปู่ ธัมมา นันทะ ท่ามะโอ .ลำปาง ปี พศ.๒๕๖๒
จากศิษย์ ถึง ศิษย์ บาลีใหญ่ ท่ามะโอ
จากอาจารย์ สู่ อาจารย์ บาลีใหญ่ ท่ามะโอ

ประวัติวัดท่ามะโอ

วัดท่ามะโอ ตำาบลเวียงเหนือ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗ อุบาสกชาวพม่าชื่อ
“อู สั่งโอง” เป็นผู้สร้าง มีประวัติย่อต่อไปนี้
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาล
ที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี มีอุบาสกชาวพม่าชื่อ อู สังโองได้เข้ามาประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าไม้ในจังหวัดลำาปาง
อุบาสก อู สั่งโองเป็นผู้นับถือและเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมั่นคง สมบูรณ์ด้วยศรัทธาปรารถนาความเจริญ
รุ่งเรืองแห่งพระศาสนา ได้บริจาคทรัพย์ซื้อที่ดินในบริเวณท่ามะโอริมแม่น้ำาวัง สร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ (ตรง
กับ จ.ศ. ๑๒๕๖) เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ก็ได้สร้างถาวรวัตถุภายในวัดคือ กุฏิ หอฉัน ศาลาการเปรียญ วัจกุฎี
บ่อน้ำ โรงพระอุโบสถและกำาแพงก่ออิฐ ได้อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณรผู้อยู่ในวัดด้วยปัจจัย ๔ เป็นประจำเสมอมา
เมื่อท่านถึงแก่กรรมแล้ว บรรดาบุตรหลานของท่านก็ได้อุปถัมภ์วัดและพระภิกษุสามเณรสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้
ชื่อของวัดนี้ เรียกตามคำาบาฬีว่า “มาตุลุงฺคติตฺถาราม” เรียกตามภาษาไทยว่า “วัดท่ามะโอ” เพราะ
อาศัยท่ามะโอหรือท่าส้มโอ คำาว่า “วัด” ตรงกับคำาบาฬีว่า “อาราม” คำาว่า “ท่า” ตรงกับคำาบาฬีว่า “ติตฺถ”
คำาว่า “มะโอ” ตรงกับคำาบาฬีว่า “มาตุลุงฺค” คำาทั้ง ๓ คือ อารามะ, ติตถะ, มาตุลุงคะ, เมื่อสับเปลี่ยนคำ
หน้าไปไว้หลัง สับเปลี่ยนคำหลังมาไว้คำหน้า ก็สำาเร็จรูปเป็น “มาตุลุงคติตถาราม” แปลว่า “วัดท่ามะโอ”
สำาหรับพื้นที่วัด ภายในกำแพง มีเนื้อที่กว้าง ๔๐ วา ยาว ๔๐ วา, ภายนอกกำแพงทิศเหนือ มีเนื้อที่กว้าง
๑๘ วา ยาว ๓๑ วา

ลำดับเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ

  • รูปที่ ๑ พระอาจารย์ อู นันทิยะ มรณภาพปีใดไม่ปรากฏ
  • รูปที่ ๒ พระอาจารย์ อู ติกขะ มรณภาพปีใดไม่ปรากฏ
  • รูปที่ ๓ พระอาจารย์ อู เนมินทะ อัครมหาบัณฑิต มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๙
  • รูปที่ ๔ พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต
พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ นั้น พระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัด
นครสวรรค์ ได้ขอต่อสภาพระพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่ามาเป็นครูสอนพระไตรปิฎกประจำวัดโพธาราม สภา
พุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าได้จัดส่งมาตามความประสงค์ของพระธรรมคุณาภรณ์ พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ
พร้อมด้วย อู โสภณะ ได้เดินทางจากประเทศพม่า เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ และถึงวัดโพธาราม
ในวันเดียวกัน

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ พระอาจารย์ อู เนมินทะ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ได้ขอท่านอาจารย์ อู ธัมมานันทะ
ต่อสภาพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าเพื่อมาอยู่วัดท่ามะโอ สภาพุทธศาสนาได้อนุมัติและได้แจ้งให้ทางวัดโพธาราม
ทราบ พระอาจารย์ อู ธัมมานันทะ ได้เดินทางจากวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๐๙ และถึงวัดท่ามะโอในวันเดียวกัน เมื่อพระอาจารย์ อู เนมินทะ มรณภาพแล้ว ท่านได้ดำรงตำาแหน่ง
เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ และได้ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาฬีขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐

ชีวประวัติ : พระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ


ท่านเกิดที่หมู่บ้านตาสี อำาเภอเยสะโจ จังหวัดปขุกกู ในวันเสาร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ พ.ศ. ๒๔๖๓
(ตรงกับวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓) เป็นบุตรของนายโผติด นางงวยยิ ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดในหมู่บ้านของท่านเอง
ท่านมีพี่น้องอยู่ ๔ คน และเป็นลูกอันดับสามในบรรดาพี่น้องชายทั้ง ๔ คนนั้น
ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาของท่านนำไปฝากพระญาณเถระ
ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตงทัด หมู่บ้านตาสินั่นเอง ได้เล่าเรียนหนังสือต่าง ๆ เริ่มต้นแต่ชั้นอนุบาลประถมเป็นต้นมา
จนถึงบทสวดมนต์ต่าง ๆ คือ พระปริตรทั้ง ๑๑ สูตร คัมภีร์นมักการะ คัมภีร์โลกนีติ ชัยมังคลคาถา ชินบัญชรทั้ง
ภาคบาฬีและภาคแปลด้วย รวมทั้งโหราศาสตร์ต่าง ๆ ที่ใช้ตัวเลขเป็นภาษาบาฬี อันเป็นวิธีการเรียนสมัยดั้งเดิม
ของพม่า
เมื่อท่านอายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระวิจารินทะเป็นอุปัชฌาจารย์ได้รับฉายาบาฬีว่า
“ธัมมานันทะ” สามเณรธัมมานันทะได้ท่องจำนาสนะ ทัณฑกรรม เสขิยวัตรและขันธกวัตร ๑๔ อย่างได้ตั้งแต่ยัง
เป็นเด็กวัดอยู่ หลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาจารย์จึงได้ให้ท่องจำกัจจายนสูตร รวมทั้งคำแปลตาม
คัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ และสอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ด้วย
หลังจากนั้น ท่านได้ย้ายไปวัดปัตตปิณฑิการาม ซึ่งอยู่ในตัวอำเภอเยสะโจ ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ต่าง ๆ
คือ พาลาวตาร กัจจายนะ สัททนีติ (สุตตมาลา) อภิธัมมัตถสังคหะ เทฺวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณี และพระ
วินัยปิฎก ในสำานักของพระอุตตรมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการาม
เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยมีท่าน
อาจารย์สุชาตะ ซึ่งเป็นศิษย์ท่านอาจารย์อุตตระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมาวัดยองเปนตา จังหวัดมองลำไยจุน
มีโยมอุปัฏฐากถวายอัฏฐบริขาร คือ นายพละ นางเสงมยะ อยู่ที่ บ้านเลขที่ ๒๐ ถนนซี จังหวัดมองลำไยจุน
หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านอาจารย์อุตตระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการามได้ส่งท่านไปเรียนพระปริยัติ
ธรรมต่อในสำนักของท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์ วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล ท่านศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
และ คัมภีร์ปทวิจาร ในขณะนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จังหวัดมันดเลเป็นจุดเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ เพราะ
เป็นเมืองหลวงอันดับสองรองจากกรุงย่างกุ้ง ดังนั้น ท่านจึงย้ายจากจังหวัดมันดเลไปสู่จังหวัดมะไลย ได้ศึกษา
คัมภีร์อภิธาน ฉันท์ อลังการะ เภทจินตา และกัจจายนสาระ ในสำนักของท่านอาจารย์จันทโชติ เจ้าอาวาสวัดสิริ
โสมาราม หมู่บ้านกันจี จังหวัดมะไลยนั้น และ ยังได้ศึกษาคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ วิธีการทำรูปตามนัยของคัมภีร์
กัจจายนะ นามปทมาลา อาขยาตปทมาลา คัมภีร์พระอภิธรรมต่าง ๆ คือ คัมภีร์ปรมัตถสรูปเภทนี มาติกา และ
ธาตุกถา รวม ๕ ปี ด้วยกัน จนกระทั่งสงครามโลกสงบ
ในสมัยนั้น จังหวัดปขุกกูและอำเภอเยสะใจ ไม่นิยมสอบสนามหลวงเป็นทางการเพียงแต่ศึกษาเล่าเรียนให้
แตกฉานเท่านั้น ดังนั้น ท่านจึงไม่สนใจเข้าสอบตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรเรื่อยมาจนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ หลังจาก
สงครามโลกสิ้นสุดลง ท่านจึงได้เริ่มสอบสนามหลวงได้ชั้น “ปถมะแหง่” ในขณะที่ท่านพำนักอยู่ ณ วัดสิริโสมาราม
หลังจากนั้น จึงย้ายไปวัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล อันเป็นที่พำนักเดิม และสอบได้ชั้น “ปถมะลัด” ที่นั้นพระ
อาจารย์ที่สอนคัมภีร์ต่าง ๆ ให้ คือ ท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์, พระชาเนยยพุทธิ, พระสุวัณณโชติภิวงศ์ และ
พระอานันทปัณฑิตาภิวงศ์
หลังจากนั้น ท่านย้ายไปอยู่วัดเวยันโภงตา สอบชั้น “ปถมะจี” ได้เป็นอันดับสามของประเทศและสอบชั้น
“ธัมมาจริยะ” ได้ในปีต่อมา ณ สำานักเรียนวัดเวยันโภงตานั้น
สมัยนั้น ท่านอาจารย์กัลยาณะเจ้าอาวาสวัดเวยันโภงตามีชื่อเสียงมากในการสอนคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะใน
เมืองมันดเล ท่านจึงได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นธัมมาจริยะกับท่านอาจารย์กัลยาณะ และในขณะที่ท่านกำลังจะสอบชั้น
“ปถมะจี” ท่านยังไปศึกษาคัมภีร์ปัฏฐานเป็นพิเศษด้วยที่วัดปัฏฐานาราม ภูเขาสะไกย จังหวัดสะไกย โดยมีท่าน
อาจารย์อินทกะ (อัครมหาบัณฑิต) เป็นผู้สอน
ท่านสอบคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะได้ ๓ คัมภีร์ คือ ปาราชิกบาฬี และอรรถกถา สีลักขันธวรรคบาฬีและ
อรรถกถา ธัมมสังคณีบาฬีและอัฏฐสาลินีอรรถกถา ได้รับตราตั้งว่า “สาสนธชธัมมาจริยะ” นอกจากนั้นท่านยัง
สอบคัมภีร์พิเศษในชั้นธัมมาจริยะได้อีกคือ คัมภีร์มหาวัคคาทิอรรถกถา สังยุตตนิกายอรรถกถา และวิภังคาทิ-
อรรถกถา จึงได้รับตราตั้งอีกว่า “สาสนธชสิริปวรธัมมาจริยะ” ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในวัดต่าง ๆ เช่น
วัดสิริโสมาราม จังหวัดมะไลย วัดปัตตปิณฑิการาม อำเภอเยสะโจ และวัดเวยันโภงตา จังหวัดมันดเล
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางกรมการศาสนาของประเทศสหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านเป็นพระธรรม
ทูต เพื่อการเผยแผ่พระศาสนาเถรวาทในต่างประเทศ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่กะบาเอ ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์เพื่อการ
เผยแผ่ (ธัมมทูตวิทยาลัย) ศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น เพื่อจะไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น
เวลานั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ. ๙) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์
มีหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอพระอาจารย์ผู้เชื่ยวชาญในพระปริยัติธรรมเพื่อมาสอนพระปริยัติ
ธรรมที่วัดโพธาราม ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่ารับรองกับท่านว่า เมื่อท่านสอนพระปริยัติธรรมใน
ประเทศไทยได้หนึ่งพรรษาแล้ว จะส่งท่านต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น ท่านจึงได้เดินทางมายังวัดโพธาราม
จังหวัดนครสวรรค์ตามที่กรมการศาสนานิมนต์ โดยได้เดินทางมาในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ในเวลา
นั้นท่านมีภาระสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณรจำานวน ๒๐๐ รูป ในวัดโพธารามเมื่อครบกำาหนดแล้ว
ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ ได้นิมนต์ให้อยู่สอนพระปริยัติธรรมต่อท่านจึงได้พำนักอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์เป็น
เวลาถึง ๖ ปี
ในขณะพำนักอยู่ที่นครสวรรค์นั้น ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าได้นิมนต์ท่านเพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์
พจนานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ ในสมัยปัจฉิมฎีกาสังคายนา
ที่กะบาเอ ณ กรุงย่างกุ้ง ท่านจึงได้เดินทางกลับประเทศของท่านเป็นการชั่วคราว เพื่อร่วมจัดทำคัมภีร์พจนานุกรม
พระไตรปิฎกฉบับบาฬี - พม่า เล่มที่ ๑ และตรวจสอบคัมภีร์ต่าง ๆ มีสุโพธาลังการฎีกาเป็นต้น รวม ๑ ปี หลัง
จากที่การสังคายนาพระบาฬี อรรถกถาและฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ต่าง ๆ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับมายัง
วัดโพธารามตามเดิม
ในขณะนั้น ท่านอาจารย์เนมินทะ (อัครมหาบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ ชราภาพมากแล้ว จึงได้มี
หนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า มีความประสงค์จะนิมนต์ท่านอาจารย์ธัมมานันทะให้มาเผยแผ่พระ
ศาสนาที่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำาปาง ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าก็ได้มีหนังสือมาถึงท่าน ดังนั้น ท่านจึง
ย้ายจากจังหวัดนครสวรรค์มาอยู่วัดท่ามะโอ จังหวัดลำาปาง ในวันขึ้น ๘ ค่ำา เดือน ๘ พ.ศ. ๒๕๐๘ (ตรงกับวัน
ที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘) หลังจากที่ท่านมาอยุ่ที่นี่ได้ ๕ เดือน ท่านอาจารย์เนมินทะเจ้าอาวาสวัดท่ามะ
โอก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ท่านอาจารย์ธัมมานันทะจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอสืบต่อมา ท่านได้
เริ่มกิจการเผยแผ่พระศาสนาทางด้านพระปริยัติธรรมด้วยการตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นในวันพฤหัสบดี แรม ๒
ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๑๐ (ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐) ท่านสามารถก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมให้มีชื่อเสียงขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะศิษยานุศิษย์ของท่านสามารถสอบได้ทั้งแผนกธรรมและแผนกบาฬีทุก ๆ
ปีเป็นจำานวนมาก
เนื่องจากการศึกษาพระไตรปิฎกจำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์พื้นฐาน ๔ คัมภีร์ คือ คัมภีร์ไวยากรณ์ คัมภีร์
อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์วุตโตทัย และ คัมภีร์สุโพธาลังการ ท่านจึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษาคัมภีร์พื้นฐานของพระ
ไตรปิฎกทั้ง ๔ คัมภีร์นั้น ด้วยการสอนอธิบายและให้นักศึกษาท่องจำคัมภีร์เหล่านั้นพร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแผ่ ถึง
แม้ว่าท่านจะชราภาพมากแล้ว ก็ไม่คำานึงถึงตัวท่านเอง ท่านได้อุตสาหะสั่งสอนศิษย์ให้พยายามศึกษาเล่าเรียนจน
ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งศิษยานุศิษย์เหล่านั้นก็ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้ภาษาบาฬีเป็นอย่างดี

คัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักสูตรในการศึกษาและใช้เป็นคัมภีร์ค้นคว้านั้น ท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้จัดพิมพ์ไว้ รวม ๒๐ คัมภีร์ด้วยกัน คือ


๑.กัจจายนะ ๒.ปทรูปสิทธิ
๓.โมคคัลลานพยากรณะ ๔.สัททนีติสุตตมาลา
๕.นยาสะ ๖.อภิธาน
๗.สุโพธาลังการะ ๘.ฉันท์
๙.สุโพธาลังการปุราณฎีกา ๑๐.สุโพธาลังการอภินวฎีกา
๑๑.ขุททสิกขา, มูลสิกขา ๑๒.ธาตวัตถสังคหะ
๑๓.เภทจินตา ๑๔. กัจจายนสาระ
๑๕.ณวาทิโมคคัลลานะ ๑๖.พาลาวตาร
๑๗.สังขยาปกาสกะ ๑๘.สังขยาปกาสกฎีกา
๑๙.ปโยคสิทธิ ๒๐.วุตโตทยฉันโทปกรณ์แปล

ส่วนคัมภีร์ที่ท่านรจนาด้วยตนเองมี ๔ คัมภีร์ คือ

๑.สำนวนภาษาในพระพุทธศาสนา
๒.อุปสัมปทกัมมวาจาวินิจฉัย
๓.สังขิตตปาติโมกขุทเทสวินิจฉัย
๔.นานาวินิจฉัย

ใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐบาลสหภาพพม่าได้เห็นเกียรติคุณความดีในด้านการเผยแผ่พระศาสนาของท่าน
อาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ จึงได้น้อมถวายตำาแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต” อันทรงเกียรติ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๙
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้น้อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพุทธศาสตร์ และใน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านอาจารย์ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรสาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการบูชาเกียรติคุณ
ความดีของท่านซึ่งจะเป็นทิฏฐานุคติอันดีงามแก่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายสืบต่อไป

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ฯ


ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี 12 มิย 2562

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ

บาลีใหญ่ ท่ามะโอ อาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี วิภัตติ วาจก ธาตุ แบบสัมพันธ์ 12 มิย 2562 โดยท่านอาจารย์ อุดม เขมานันท์
(โปรดใช้หูฟัง)
บาลีอาขยาต, บาลีใหญ่ท่ามะโอ, บาลีเรียนสบาย, ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น-รวม นามาขยาต ปทรูปสิทธิบาลี กัจจายนสุตตปาฐะ

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 12 มิย 2562 ตอนที่ 1


ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 12 มิย 2562 ตอนที่ 2


ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 12 มิย 2562 ตอนที่ 3


ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 12 มิย 2562 ตอนที่ 4


ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยา บาลีใหญ่ท่ามะโอ 12 มิย 2562 ตอนที่ 5


วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562

แก้คำผิดบทเรียนบาลีใหญ่ ท่ามะโอ ในวีดีโอก่อนหน้า 8 มิย 2562

รวมแก้คำผิดบทเรียนบาลีใหญ่ ท่ามะโอ ในวีดีโอก่อนหน้า 8 มิย 2562


รวมแก้คำผิดบทเรียนบาลีใหญ่ ท่ามะโอ ในวีดีโอก่อนหน้า 8 มิย 2562





บาลีใหญ่ ท่ามะโอ การใช้นาม แบบสัมพันธ์ และ แปล 3 8 มิย 2562

บาลีใหญ่ ท่ามะโอ การใช้นาม แบบสัมพันธ์ และ แปล 3 8 มิย 2562

บาลีใหญ่ ท่ามะโอ การใช้นาม แบบสัมพันธ์ และ แปล 3 8 มิย 2562 โดยท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ โปรดใช้หูฟัง

การใช้นาม แบบสัมพันธ์ และ แปล 3 ตอนที่ 1


การใช้นาม แบบสัมพันธ์ และ แปล 3 ตอนที่ 2



การใช้นาม แบบสัมพันธ์ และ แปล 3 ตอนที่ 3



การใช้นาม แบบสัมพันธ์ และ แปล 3 ตอนที่ 4


วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี 7 มิย 2562

ทบทวนอาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี

บาลีใหญ่ ท่ามะโอ อาขยาต ทำตัวรูปคำกริยาบาลี วิภัตติ วาจก ธาตุ แบบสัมพันธ์ 7 มิย 2562 โดยท่านอาจารย์ อุดม เขมานันท์
(โปรดใช้หูฟัง)