Amps
หน้าเว็บ
กลุ่มบทความน่าสนใจ
- บาลีใหญ่ท่ามะโอ (121)
- ธรรมแท้ๆจากพระไตรปิฏก (81)
- ธรรม วินิจฉัย (37)
- เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวรูป ภาษาบาลี (32)
- เรียนบาลีใหญ่ (19)
- โปรแกรมเรียนบาลีใหญ่ (15)
- คาถา ต่างๆ (11)
- ทั่วไป (10)
- สื่อเผยแผ่ธรรมะ (8)
- โปรแกรมพระไตรปิฎก (6)
วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558
Download ฟรี โปรแกรมพระไตรปิฎก ไม่สังกัดวัด สำหรับคนไทย และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป
การ Download และ ติดตั้งโปรแกรม ThaiTipitaka
โปรแกรมพระไตรปิฎก ภาษาไทย ทุกฉบับ
พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ
พระไตรปิฎกฉบับบหลวง
พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา
พระไตรปิฎกฉบับมหามงกุฏ
พระไตรปิฎกคำอ่านบาลีภาษาอังกฤษ (โรมัน)
Down Load โปรแกรมจาก
UnZip โปรแกรมทั้งหมดไว้ใน Drive D:/Thai_Tipitaka
Double Click โปรแกรมพร้อมใช้งาน
การใช้งานโปรแกรมพระไตรปิฎก โปรดคลิกเพื่อดูภาพขยายใหญ่
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ชรา มรณา แฝงตัว
วันใดที่ลุ่มหลงความงาม ของหนุ่มสาว วันนั้นความชรา และ มรณา ก็คืบคลาน และ แฝงตัวเข้ามาอยู่ในที
วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ละความง่วง กำจัดความง่วง
โมคคัลลานสูตร
ละความง่วง กำจัดความง่วง
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมาร
คีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม
แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้าน
กัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจาก
เภสกลามิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหา
โมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้
หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัส
ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อม
ครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว
ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตาม
ที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายัง
ละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วง
นั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว
นักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึง
เอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร
กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะ
เป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมาย
เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความ
ง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้า
เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า
เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ ดูกร
โมคคัลลานะเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้อีกว่า เราจักไม่ชูงวง [ถือตัว]
เข้าไปสู่ตระกูล ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล และ
ในตระกูลมีกรณียกิจหลายอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้มนุษย์ไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาแล้ว เพราะเหตุนั้น
ภิกษุย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกในสกุลนี้ เดี๋ยวนี้ดูมนุษย์พวกนี้
มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะไม่ได้อะไร เธอจึงเป็นผู้เก้อเขิน เมื่อเก้อเขิน ย่อมคิด
ฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ
เพราะฉะนั้นแหละ โมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่พูดถ้อยคำซึ่งจะเป็น
เหตุให้ทุ่มเถียงกัน ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่ม
เถียงกัน ก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่
สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ
ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง เราหาสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงไม่ แต่มิใช่ว่า
จะไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงก็หามิได้ คือ เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วย
หมู่ชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็แต่ว่า เสนาสนะอันใดเงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากการ
สัญจรของหมู่ชน ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการความสงัด ควรเป็นที่หลีกออกเร้น เรา
สรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะเห็นปานนั้น ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้น
ตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
พ. ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น ครั้น
ได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญา
อันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนา
เหล่านั้น พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืน เมื่อ
เธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้
เกษมจากโยคะล่วงส่วนเป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๘
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555
สรุปพระธรรมวินัย เรื่องลิงตัวเมีย
พระอนุบัญญัติ ๑
๑. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.
สรุป พระธรรมวินัย ที่ได้จากเรื่อง เวรัญชพราหมณ์
พระสมณะโคดม
ไม่ไยดี ละ
ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ไม่ทำ รังเกียจ เผาผลาญ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต บาปอกุศล
ขาดสูญ แสดงธรรมเพื่อกำจัด
ราคะ โทสะ โมหะ
ไม่ผุดเกิด การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดราก
ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ปฐมฌาน
เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
ทุติยฌาน
เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.
ตติยฌาน
เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.
จตุตถฌาน
เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส
ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เรา
ได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด
เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
เผากิเลส
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)