วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567

หนังสือรวม พระไตรปิฎก พระสูตร อรรถกถา ฎีกา อนฺย ภาษาบาลี อักษรไทย

 หนังสือรวม พระไตรปิฎก พระสูตร อรรถกถา ฎีกา อนฺย ภาษาบาลี อักษรไทย

ประกอบไปด้วย หนังสือภาษาบาลี อักษรไทย ซึ่งประกอบไปด้วย หนังสือในหมวดของ ติปิฎก อฏฐกถา ฎีกา และ อนฺย ที่รวบรวมเผยแพร่ ในเวปไซต์ของ Pāḷi Tipiṭaka เป็นภาษาบาลี ด้วยอักษรประเทศต่างๆ โดยระบุข้อจำกัดใช้ ไฟล์ข้อมูลเป็นแบบ XML ห้ามจำหน่าย 
ดังนั้น ผู้จัดทำเห็นว่าเป็นประโยชน์ กับวงการศึกษาพระพุทธศาสนาในเมืองไทย จึงได้นำมารวบรวม เป็นรูปแบบไฟล์ Ebook มาตรฐาน EPub เพื่อแจกจ่ายเป็น ธรรมทาน 
**เพื่อให้เป็นไปตามเจตจำนงค์ของ องค์กร ที่รวบรวม เริ่มต้น สำหรับผู้นำไปใช้ ดังนั้น ห้ามจำหน่าย ในรูปแบบ ไฟล์เต็ม หรือ แยกย่อย E-Book Digital EPub html xhtml และ xml**
In order to comply with the intention of the organization that collects, starts for users, so do not sell in the form of full files or separate E-Book Digital EPub html xhtml and xml.


Open Application




วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2567

กำเนิดโลกและชีวิตตามพระพุทธพจน์: มองโลกใหม่ผ่านพระไตรปิฎก

 อธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับพระไตรปิฎก และความสำคัญของการศึกษาเรื่องกำเนิด

โลกเกิดได้อย่างไร? ตามคำสอนในพระไตรปิฎก

ตำนานการสร้างโลกแบบพุทธ: มุมมองที่น่าสนใจ

ก่อนที่เราจะมีชีวิต: เรื่องราวจากพระไตรปิฎก

สุดยอดปริศนา: โลกและชีวิตเกิดจากอะไรกันแน่? ตามหาคำตอบในพระไตรปิฎก

เผยความลับ! กำเนิดโลกและชีวิตที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

วิทยาศาสตร์ VS พระพุทธศาสนา: ใครจะเฉลยปริศนาแห่งชีวิตได้ดีกว่ากัน?

ท่องไปในจักรวาลแห่งพระไตรปิฎก: ค้นพบเรื่องราวกำเนิดโลก

โลกและชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร? มนุษย์มาจากไหน?

กำเนิดโลกตามพระพุทธศาสนา

พระไตรปิฎกกล่าวถึงกำเนิดโลกอย่างไร

ตำนานการสร้างโลกในพุทธศาสนา

เปรียบเทียบกำเนิดโลกในพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

กำเนิดโลกตามพระไตรปิฎก อัคคัญญสูตร

โลกเกิดจากอะไร พระพุทธศาสนา

การเวียนว่ายตายเกิดและกำเนิดโลก

เปรียบเทียบกำเนิดโลกในพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

เรื่องราวก่อนเกิดในพระพุทธศาสนา


#พระไตรปิฎก #กำเนิดโลก #กำเนิดชีวิต




วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567

หอไตร หรือ หอพระไตรปิฎก อาคารเก็บ พระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรล้านนา

 หอไตร หรือ หอพระไตรปิฎก อาคารเก็บ พระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรล้านนา

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง
วัดโบราณ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ทางภาคเหนือ จะมีอาคารเล็กๆ
เรือนสูงอยู่ เพื่อไว้เก็บพระไตรปิฎก หรือจะเรียกว่า หอไตรฯ 
แต่จากการสืบค้นพบว่า พระไตรปิฎก ที่จานด้วยอักษรล้านนา จริงๆ ก่อนปี 2535-3540 นั้นมีหลงเหลือน้อยมาก จนแทบไม่พบ จึงเป็นที่มาในปีหลัง ราวปี พศ.2535-2540 อาจารย์ นักวิชาการ ภาษาล้านนา และ วัดที่เป็นสำนักเรียนในภาคเหนือจึงร่วมกัน คัดพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรล้านนา ขึ้นมาใหม่ ถอดอักษรมาจาก ฉบับบาลีสยามรัฐ อักษรไทย


วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

ดิกชันนารี บาลี ไทย บาลีดิก ฉบับ ThaiNewGenDict มีที่มาอย่างไร เรียนภาษาบาลี เพื่ออะไร

 เรียนบาลีเพื่ออะไร ดิกชันนารีบาลี Thai NewGenDict จะช่วยการเรียนรู้ภาษาบาลีได้อย่างไร

เริ่มต้นจากการตั้งคำถาม ว่าทำไม คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่กลับรู้ความหมายในภาษาบาลีกันน้อย ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษ และ ภาษาอื่นๆ ทั้งๆที่การเรียนรู้ภาษาอื่นอย่างเป็นกิจลักษณะนั้น นอกจากจะมาที่หลังภาษาบาลี ประกอบกับ คำไทย มีการยืมหรือนำคำในภาษาบาลีมาใช้มากมาย ตรงนี้จึงเป็นที่มาว่าทำไมจึงต้องทำโปรแกรมดิกชันนารี บาลี ไทย ขึ้นมา
วิธีการ และ แนวคิด จะทำอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด 
จากการที่ได้เรียนภาษาบาลี ไวยยากรณ์ใหญ่ จากวัดท่ามะโอ ต.วังเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง ประกอบกับ การที่ได้ทำงานกับ ทีมงานต่างชาติ มานานหลายสิบปี จึงพบว่า ปัญหาหนึ่ง ของการเรียนรู้ภาษาบาลีนั้นอยู่ที่ ดิกชันนารี ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ จะมีดิกชันนารีที่เรียกว่า English to English Dictionary ซึ่งจะอธิบาย คำในภาษาอังกฤษ ด้วยภาษาอังกฤษด้วยถ้อยคำง่ายๆ และ จะบ่งบอกถึงบริบทในการใช้คำต่างๆ และอาจรวมแฝงไปด้วยไวยากรณ์ ซึ่งก็คล้ายๆกับ ภาษาบาลี ไวยกรณ์ใหญ่ ที่เรียนจากตำราโบราณ เป็นภาษาบาลี ประกอบกับ พระไตรปิฎก ภาษาบาลี ยังแบ่งออกเป็น อรรถกถา และ ฎีกา เพื่ออธิบายคำศัพท์ รวมถึงรับรองความเป็นพุทธพจน์ อีกด้วย
ในปัจจุบัน ประเทศไทยเอง พระไตรปิฎกที่ถูกแปลจากภาษาบาลี ที่เป็นภาษาไทย มีเพียงพระสุตตันตปิฎกเท่านั้น ซึ่งหลายคนยังไม่เข้าใจ พระไตรปิฎก ทั้งสามส่วนนี้ และ ไม่เข้าใจในภาษาบาลี จึงเป็นที่มาให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดความสงสัย แก่มวลมหาชนคนไทย ที่เกี่ยวข้องกับ พุทธพจน์ และ ภาษาบาลี 
อีกประเด็นหนึ่ง การเรียนคำสอนในพระพุทธศาสนานั้น ก็เปรียบเสมือนการเรียนเทคโนโลยี หรือ คอมพิวเตอร์ ที่ถูกคิดค้นโดยชาวตะวันตก ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษ ถ้าเราไม่รู้ ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ก็จะเป็นการยากแก่การเรียนรู้ 
ในทางกลับกัน ตำราคอมพิวเตอร์ 1 เล่ม ถามว่ามีคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ ทุกคำหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ ดังนั้น ในพระสุตตันตปิฎก ก็มีโอกาศที่ไม่มีทุกคำที่ใช้กันอยู่ ในแคว้นมคธ ทุกคำที่ใช้กันอยู่ในสมัยพุทธกาล จากตรงนี้ใคร่ขอยกพระพุทธพจน์ประโยคหนึ่ง
 ปุพฺเพ  จาหํ  ภิกฺขเว  เอตรหิ จ ทุกฺขญฺเจว ปญฺญาเปมิ  ทุกฺขสฺส  จ  นิโรธํ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี เราบัญญัติสอน เฉพาะเรื่องความทุกข์ กับเรื่องความดับทุกข์เท่านั้น"
นั่นหมายถึง คำสอนที่พระพุทธองค์ พระองค์ทรงเลือกเพียงเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ในขณะที่ พระสุตตันตปิฎกของไทย จัดทำเป็นรูปเล่มแยกเป็นหมวดหมู่ไว้มีถึง 45 เล่ม ประเทศพม่า จัดไว้อยู่ใน 40 เล่ม ในแต่ละเล่ม ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือพม่านั้น มีจำนวนหน้ามากกว่า 300 หน้า ในภาษาบาลี มีศัพท์บาลี ที่ไม่ซ้ำกันมากกว่า 17x,xxx (หนึ่งแสน เจ็ดหมื่น) คำ
การแปล เป็นภาษาไทยนั้น มีคำทับศัพท์ ภาษาบาลี มากกว่า 30% โดยประมาณ โดยการแปลเป็นภาษาไทยนั้น เดิม อิงการแปลความหมายโดยอรรถ และ พยัญชนะ มาจากอรรถกถา และ ฎีกา ภาษาบาลี แทบทั้งสิ้น ดังนั้น การอ่านพระไตรปิฎก ภาษาไทยนั้น ย่อมยากที่จะได้ความหมายที่ลึกซึ้ง ถ้าไม่เรียนภาษาบาลี
นี่ยังไม่รวม การพิมพ์ผิด พิมพ์ตกหล่น และ ส่วนที่เป็นสำนวนที่ผ่านยุคสมัยของกาลเวลา ที่ทำให้ความเข้าใจของผู้คน ไม่ครบถ้วน เช่น คนไทยในปัจจุบัน นั้นถ้าพูดถึงกรรม ก็มักจะพูดถึงว่า ทำกรรมอะไรไว้หนอจึงเป็นทุกข์ บ่นพรรณณากันเข้าไปจนยากที่จะสลัดทุกข์ออกจากใจ โดยลืมไปว่า เราเองสร้างกรรมดีไว้มากมาย และ มีกรรมดีอะไรบ้างที่จะช่วยผ่อนปรนทุกข์ให้เบาบางลงได้บ้าง
ดิกบาลีคอมพิวเตอร์ นี้ ใช้วิธีการด้านฐานข้อมูล เพื่อดึงคำศัพท์พระบาลี จากพระสุตตันตปิฎกทุกคำ และ ดึงคำแปลบางส่วนจากฉบับดิจิตอลบางส่วนที่มีอยู่มาบ้าง ซึ่งการระบุคำแปลแบบเดิมนั้น ได้แต่ความหมายที่ไม่ได้ระบุไวยากรณ์ ไว้ด้วยดังนั้นโปรแกรมนี้จึง จัดทำคำแปลให้บอกถึงไวยากรณ์ และ วิธีการใช้ไปด้วย พร้อม มีส่วนให้สามารถบันทึก อุทาหรณ์ หรือ ประโยคตัวอย่าง หรือ อาจใช้บันทึกคำที่มีความคล้ายคลึงกัน ในกรณีที่ยังไม่ได้บันทึกคำแปลของคำนั้นๆ พร้อมทั้งมีส่วน เรียนรู้จากประโยคตัวอย่าง ของท่านอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ศิษย์วัดท่ามะโอ อ.เมือง จ.ลำปาง คำแปล ส่วนหนึ่งพร้อมประโยคตัวอย่างได้ทำเพิ่มไว้ให้แล้วส่วนหนึ่ง และ ที่เหลือ สำหรับผู้นำไปใช้ได้นำไปกรอกเพิ่มเองได้ในขณะเรียนรู้ หรือ อ่านหนังสือ
คำถาม ทำไม ไม่กรอกคำแปลให้หมดเลย ไหนๆ ก็ทำให้คนใช้แล้ว คำตอบคือ ถ้าจะให้ผู้จัดทำใช้คอมพิวเตอร์ทำอัตโนมัติให้ทั้งหมด คือ ง่ายมากๆ เพียงเขียนโปรแกรมแล้วกดปุ่มเดียว ทำตัวรูปให้หมดแล้วยัดความหมายเข้าไป แต่ปัญหาคือ ผู้ใช้จะได้ฝึกหรือ เพราะการที่จะทำให้นำไปใช้ได้ ต้องจำได้ไม่ว่าจากการ ท่อง อ่าน เขียน ดังนั้น การเขียนหรือพิมพ์บ่อยๆ มากๆ ก็จะทำให้ลดการท่องจำ แต่ในขณะทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ก็จะเพิ่มการสังเกต รูปสำเร็จไปในตัวทำให้จำศัพท์ ได้มากขึ้น 
ดังนั้น ทางผู้จัดทำจึงหาวิธีการทำตัวรูป ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้พิมพ์น้อยที่สุด ลดการผิดพลาดในการกรอกข้อมูลลง โปรแกรม บาลีดิก ThaiNewGenDict ซึ่งผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า และ ค่อนข้างมั่นใจว่าการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม ดิกบาลี ThaiNewGenDict พร้อมการทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์นี้ จะทำให้ผู้เรียนภาษาบาลีจะเรียนรู้ภาษาบาลีได้อย่างรวดเร็วอย่างแน่นอน
สำหรับ การทำตัวรูปด้วยคอมพิวเตอร์ นั้น การเรียนรู้ที่ง่ายที่สุด ผู้จัดทำใช้โปรแกรมฟรี ชื่อ Libreoffice calsheet ทั้งนี้เราคำนึงถึงเรื่องลิขสิทธิ์ และ ใช้งบประมาณน้อยเป็นตัวตั้ง สำหรับ สำนักเรียน หรือ กลุ่มนักศึกษาใด ต้องการเรียนรู้วิธีนี้ สามารถติดต่อผ่านวัดท่ามะโอ อ.เมือง จ.ลำปาง หรือ ช่อง Youtube ของผู้จัดทำได้ เพื่อสามารถ ให้แนะนำการใช้งาน ทั้งสองส่วนได้ ทางออนไลน์ ฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
บาลีไม่มีทางที่ลัดมากกว่านี้อีกแล้วครับ
นอกจากนี้ โปรแกรมบาลีดิก นี้ยังสามารถค้นคำไปมาได้ ระหว่าง บาลี เป็น ไทย หรือ ไทย เป็น บาลี โดยสามารถใช้ Key อักษรปกติทั้ง 100% ทุกคำ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น และ เหมาะสมกับการค้นคว้า สำหรับผู้เรียนบาลี



วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ชื่อเดือนภาษาบาลี

 ชื่อเดือนภาษาบาลี

ชื่อเดือนภาษาบาลี ชื่อเดือนไทย แบบพุทธเดิม
ผัคคุณะ                    
จิตตะ                        
เวสาขะ วิสาขะ         
เชฏฐะ                      
อาสาฬหะ
สาวณะ                    
โปฏฐปาทะ, ภัททา ๑๐
อัสสยุชะ                  ๑๑
กัตติกา                    ๑๒
มาคสิระ, มิคสิระ
ผุสสะ                      
มาฆะ                      












วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

อานิสงส์ อานาปานสติ

 อานิสงส์ อานาปานสติ

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 31

พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค

อานาปานสฺสติ ยสฺส        ปริปุณฺณา สุภาวิตา
อนุปุพฺพํ ปริจิตา           ยถา พุทฺเธน เทสิตา
โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ   อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมาติ ฯ

ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้ว
ตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อม
ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก
ฉะนั้น ฯ

วีดีโอ ภาพ เสียง โดย ท่านอาจารย์ บุญถนอม นพโสภณ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง



วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566

อาราธนาธรรมที่ถูกต้อง บาลี พร้อม คำแปล

 อาราธนาธรรม คือ

คาถาขออาราธนาธรรม หลวงปู่ วัดท่ามะโอ นี้ใช้ก่อน อัญเชิญ ภิกษุ เทศนาธรรม

อาราธนาธรรมที่ถูกต้อง นี้ ประพันธ์ พระบาลี โดย หลวงปู่ หลวงปู่ธัมมานันทะ มหาเถระ แห่งวัดท่ามะโอ
มีการปรับปรุง จากบทที่ใช้อยู่ ในปัจจุบัน เพราะ ไม่ใช่ยุคพระพุทธเจ้า เป็นบุคคลธรรมดา อัญเชิญ ภิกษุ เพื่อแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า จึงได้ พระบาลี คาถานี้ออกมา

อาราธนาธรรม คําอ่าน

กาโล ภนฺเต มุนินฺทสฺส โสตุมิจฺฉาม เทสนํ
อนุกมฺปมุปาทาย              เทเสตุ ธมฺมเทสนํ

อาราธนาธรรม คำแปล

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถึงเวลาฟังธรรมแล้ว
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนาเพื่อฟังพระธรรม
ขอท่าน อาศัยความอนุเคราะห์
โปรดแสดงธรรม แก่ปวงข้าพเจ้าด้วยเทอญ