วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ

อภิณหะปัจจเวกขณะปาฐะ มาจากพระสูตรไหน

(หันทะ มะยัง อะภิณ๎หะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)
ชะราธัมโมม๎หิ ชะรัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้;
พ๎ยาธิธัมโมม๎หิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้;
มะระณะธัมโมม๎หิ มะระณัง อะนะตีโต, (ญ. อะนะตีตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้;
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว,
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งหลายทั้งสิ้น ไม่ล่วงพ้นไปได้;
กัมมัสสะโกม๎หิ, (ญ. กัมมัสสะกาม๎หิ) เรามีกรรมเป็นสมบัติของตน;
กัมมะทายาโท, (ญ. กัมมะทายาทา) เราจะต้องได้รับมรดกของกรรมทุกอย่าง;
กัมมะโยนิ, เรามีกรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด;
กัมมะพันธุ, เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์;
กัมมะปะฏิสะระโณ, (ญ.กัมมะปะฏิสะระณา) เรามีกรรมเป็นที่พึ่ง;
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, เราจักกระทำกรรมใดไว้;
กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา, ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม;
ตัสสะ ทายาโท (ญ.ทายาทา) ภะวิสสามิ, เราจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป;
เอวัง อัมเหหิ อะภิณ๎หัง ปัจจะเวกขิตัพพัง, เราทั้งหลายควรพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้ ทุกวันๆ เถิด ฯ


พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 22
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

 ๑๐. ทัณฑวรรค
               หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์๑
               ๑. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
           {๒๐} [๑๒๙]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมหวาดกลัวความตาย
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า
               ๒. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
               เรื่องพระฉัพพัคคีย์
            (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย    ดังนี้)
                    [๑๓๐]              สัตว์ทุกประเภท    ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
                                      สัตว์ทุกประเภท    ย่อมรักชีวิต๒
                                      บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
                                      ไม่ควรฆ่าเอง    ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕

วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560

กรณียเมตฺตสุตฺตํ

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ

กะระณียะเมตตสุตตัง

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25 
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
ข้อที่๑๐

ขุทฺทกปาเฐ กรณียเมตฺตสุตฺตํ
    [๑๐] กรณียมตฺถกุสเลน           ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจุํ
สกฺโก อุชู จ สุหุชู จ        สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี
สนฺตุสฺสโก จ สุภโร จ       อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
สนฺตินฺทฺริโย จ นิปโก จ      อปฺปคพฺโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ฯ
น จ ขุทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ     เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ ฯ
สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ     สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ          ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา
ทีฆา วา เย มหนฺตา วา     มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา
ทิฏฺฐา วา เย ๑ จ อทิฏฺฐา เย ๑ จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร
ภูตา วา สมฺภเวสี วา       สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
น ปโร ปรํ นิกุพฺเพถ        นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ ๒ กิญฺจิ
พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺญา       นาญฺญมญฺญสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ฯ
มาตา ยถา นิยํ ปุตฺตํ        อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข
เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ          มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ        มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจ        อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ
ติฏฺฐญฺจรํ นิสินฺโน วา        สยาโน วา ยาว ตสฺส วิคตมิทฺโธ
เอตํ สตึ อธิฏฺเฐยฺย         พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ ๑ ฯ
ทิฏฺฐิญฺจ อนุปคมฺม           สีลวา ทสฺสเนน สมฺปนฺโน
กาเมสุ วิเนยฺย ๒ เคธํ     น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรตีติ ฯ

พระไตรปิฎก มหาจุฬา (ไทย) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
  ๙. เมตตสูตร
                  ว่าด้วยการแผ่เมตตา
   {๑๐} (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า    ดังนี้)
[๑] ผู้ฉลาดในประโยชน์มุ่งหวังบรรลุสันตบท๒
ควรบำเพ็ญกรณียกิจ๓ควรเป็นผู้อาจหาญ    ซื่อตรง
เคร่งครัด    ว่าง่าย    อ่อนโยน    และไม่เย่อหยิ่ง
[๒] ควรเป็นผู้สันโดษ    เลี้ยงง่าย    มีกิจน้อย๔
มีความประพฤติเบา๕    มีอินทรีย์สงบ    มีปัญญารักษาตน
ไม่คะนอง๖    ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย
[๓] อนึ่ง    ไม่ควรประพฤติความเสียหายใด  ๆ
ที่จะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นตำหนิเอาได้
(ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างนี้ว่า)
ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุข
มีความเกษม    มีตนเป็นสุขเถิด
[๔] คือ    เหล่าสัตว์ที่ยังเป็นผู้หวาดสะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง๑
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
เหล่าสัตว์ที่มีขนาดกายยาว    ขนาดกายใหญ่    ขนาดกายปานกลาง
ขนาดกายเตี้ย    ขนาดกายผอม    หรือขนาดกายอ้วน
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๕] เหล่าสัตว์ที่เคยเห็นก็ดี    เหล่าสัตว์ที่ไม่เคยเห็นก็ดี
เหล่าสัตว์ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกลก็ดี    ภูตหรือสัมภเวสี๒ก็ดี
ขอสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจงมีตนเป็นสุขเถิด
[๖] ไม่ควรข่มเหง    ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส
ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน
เพราะความโกรธและความแค้น
[๗] ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์
ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต    ฉะนั้น
[๘] อนึ่ง    ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ
กว้างขวาง    ไม่มีเวร    ไม่มีศัตรูไปยังสัตว์โลกทั่วทั้งหมด
ทั้งชั้นบน๑    ชั้นล่าง๒    และชั้นกลาง๓
[๙] ผู้แผ่เมตตาจะยืน    เดิน    นั่ง    หรือนอน
ควรตั้งสติ๔นี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังไม่ง่วง
นักปราชญ์เรียกการอยู่ด้วยเมตตานี้ว่า    พรหมวิหาร
[๑๐] อนึ่ง    ผู้แผ่เมตตาที่ไม่ยึดถือทิฏฐิ๕
มีศีล    ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ๖
กำจัดความยินดีในกามคุณได้แล้ว
ก็จะไม่เกิดในครรภ์อีกต่อไป
เมตตสูตร จบ
ขุททกปาฐะ จบ