วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พุทธพจน์ วันแห่งความรัก

พุทธพจน์ วันแห่งความรัก วิสาขาสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 25
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕
ข้อที่ 176
... 
พ. ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มี
ทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมี
สิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้น
ก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใด
มีสิ่งที่รัก ๑๐ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘ผู้นั้นก็มี
ทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ
...
ยเกจิ โสกา ปริเทวิตา วา๔
               ทุกฺขา จ [๑] โลกสฺมึ อเนกรูปา
               ปิยํ ปฏิจฺจ ภวนฺติ เอเต
               ปิเย อสนฺเต น ภวนฺติ เอเต
               ตสฺมา หิ เต สุขิโน วีตโสกา
#๑ โป. เต ฯ

ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลายอย่างนี้
      มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักเมื่อไม่มีสัตว์หรือ
      สังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไรและความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี
      เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ
      ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนา
      ความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็น
      ที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

ปัญหา ฟอนท์ ภาษาบาลีของไทย และ การปริวรรตพระไตรปิฎก

ปัญหา ฟอนท์ ภาษาบาลีของไทย และ การปริวรรตพระไตรปิฎก

จากการทดสอบ Font ภาษาไทยสำหรับโปรแกรมประเภท Native Programming นั้นพบว่า การแสดงผลของ Font ต่างๆ เมื่อมีการนำมาใช้เพื่อบันทึกข้อมูลพระไตรปิฎก ภาษาบาลี รวมถึงทำให้การปริวรรตภาษาบาลีจากพระไตรปิฎก ที่ถูกบันทึกในภาษาต่างๆ มีโอกาสผิดพลาดได้เนื่องจากรหัสอักษร ที่ใช้ไม่ตรงกัน
ตัวอย่าง เวปที่ทำหน้าที่ ปริวรรต อักษรภาษาบาลี
รหัสอักษร Ascii บาลีภาษาไทย ตัวอย่างแสดงได้ดังภาพ

ดังที่ได้เสนอไปแล้วในตอนต้น อักษร ภาษาบาลีของไทยนั้น ทาง เราได้ตรวจสอบแล้วพบว่า Font ไทยดังกล่าวทั้งหมดนั้น มีปัญหาทั้งหมด 4 ประการดังนี้

ปัญหา อักษรไม่มีฐาน แบบร้ายแรง

TH Charmonman

ปัญหา อักษรไม่มีฐาน

TH Sarabun Pali


ปัญหาตัวอักษร 3 ระดับ ที่ใช้นิคหิต
TH Baijam
TH Chakra Petch
TH Charm of AU
TH Fahkwang
TH K2D July8
TH Kodchasal
TH KoHo
TH Krub
TH Mali Grade6
TH Niramit AS
TH Sarabun New
TH Srisakdi


ปัญหาอักษร 3 ระดับและไม่มีฐาณร้ายแรง

TH Sarabun PSK

เพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนขึ้น ว่าปัญหาดังกล่าวนั้นจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของโปรแกรม ปริวรรต ภาษาอย่างไร ขอยกตัวอย่างการใช้งาน ฟ้อนท์ TH Sarabun Pali

ตัวไม่มีเชิง   ฐฃ สัณฐาน   ญฃ หญิง
พินทุ   ธมฺมา     พินทุพิเศษ   พรฺฃหฺฃมทตฺ
สระอัง    บํฃ    ปํฃ  

ให้พิมพ์ ฃ.ขวด ตามหลัง เมื่อต้องการใช้คำสั่งพิเศษ ตัวอย่าง
ตัวไม่มีเชิง ฐ+ฃ = ฐฃ
พินทุ พิมพ์พยัญชนะ ตามด้วยพินทุ และฃ.ขวด ก > กฺ+ฃ = กฺฃ
สระอัง พิมพ์พยัญชนะ ตามด้วยนิคหิต และฃ.ขวด บ > บํ+ฃ = บํฃ

จากรูปแบบดังกล่าวจะทำให้เราเห็นได้ว่า ฐ ไม่มีเชิงนั้น สายตาเรามองเห็น เป็น

แต่ครั้นเมื่อเรานำอักษรดังกล่าวที่ได้จากฟอนท์นี้ไปทำการปริวรรต โดยใช้คอมพิวเตอร์ เทียบกับภาษาอื่นๆ โดย Font นี้ (ทุก Font มีปัญหาหมดสำหรับอักษรบาลี) จะสังเกตุว่า มีรหัส แอสกี หรือ Ascii ถึง 2 ตัวคือ ฐ และ ฃ 
ตรงนี้จึงเป็นเหตุให้ การปริวรรตภาษา ผิดพลาดได้

Font ไทยฟรี สำหรับงานราชการไทย

การติดตั้ง Font ไทย และ บาลี ฟรี

Down load Font ไทย และ บาลี ฟรี

Font ภาษาไทย และ บาลี: Visit SIPA

แตกไฟล์และติดตั้ง Font ไทย และ บาลี ฟรี


วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

การดับสูญของพระสัทธรรม พระพุทธองค์ ตรัสไว้มีสาเหตุมาจากอะไร

ป้องกันการดับสูญพระสัทธรรม ด้วยการเรียนรู้พระบาลี

พระไตรปิฎก พระไตรปิฏก (บาลี-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 20
พระสุตตันปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต
ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
ข้อที่ 266

ทฺวเม   ภิกฺขเว  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย
อนฺตรธานาย    สํวตฺตนฺติ    กตเม   เทฺว   ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ   ปทพฺยญฺชนํ
อตฺโถ   จ   ทุนฺนีโต   ทุนฺนิกฺขิตฺตสฺส   ภิกฺขเว   ปทพฺยญฺชนสฺส  อตฺโถปิ
ทุนฺนโย  โหติ  อิเม  โข  ภิกฺขเว  เทฺว  ธมฺมา  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย
อนฺตรธานาย   สํวตฺตนฺติ   ฯ   เทฺวเม   ภิกฺขเว   ธมฺมา   สทฺธมฺมสฺส
ฐิติยา    อสมฺโมสาย    อนนฺตรธานาย    สํวตฺตนฺติ    กตเม    เทฺว
สุนิกฺขิตฺตญฺจ   ปทพฺยญฺชนํ   อตฺโถ   จ   สุนีโต   สุนิกฺขิตฺตสฺส   ภิกฺขเว
ปทพฺยญฺชนสฺส   อตฺโถปิ  สุนโย  โหติ  อิเม  โข  ภิกฺขเว  เทฺว  ธมฺมา
สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺตีติ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหาย
แห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑อรรถที่นำมาไม่ดี ๑
แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะ
ที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พระพักตร์ พระพุทธเจ้าที่แท้จริง และ พุทธลักษณะ 32 ประการ

ที่มาของรูปภาพ

รูปภาพที่เชื่อกันว่า เป็นภาพถ่ายที่มีคนไปถ่ายรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา แล้วมีภาพพระพุทธเจ้าติดมาในฟิล์ม บ้างก็เชื่อว่า เป็นภาพที่วาดโดยโอรสของรัชกาลที่ ๕ บ้างก็เชื่อว่า เป็นภาพวาดของจิตรกรชาวฝรั่งเศส


ความจริงแล้วรูปต้นฉบับนั้นเป็นภาพวาดที่วาดโดย ใช้สีน้ำมันบนผ้าใบขนาด กว้าง 290 ซม. ยาว 366 ซม. ของ Las tentaciones de Buda (The temptation of Buddha) 1916 - 1921

แหล่งข้อมูลบางแห่งแปลงภาพนี้ให้เป็นสีขาวดำ เพื่อให้ภาพดูเก่าและดูขลังขึ้น !


ภาพดังกล่าวมีชื่อเป็นภาษาสเปนว่า Las tentaciones de Buda (ตรงกับภาษาอังกฤษคือ The temptation of Buddha) วาดโดยจิตรกรชาวสเปน ที่ชื่อ Eduardo Chicharro  จิตรกรท่านนี้ได้รับแรงบันดาลใจในศาสนาตะวันออกจาก รพินทรนาถ ฐากูร ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นคนเอเชีย คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยได้รับใน สาขาวรรณกรรม

Artist Eduardo Chicharro 1873 - 1949

Eduardo Chicharro ได้วาดภาพนี้ขึ้นระหว่าง ปี พศ. 2459 – 2464 (ใช้เวลาวาดประมาณ 5-6 ปี) ปัจจุบันภาพนี้แขวนอยู่ที่ La Academia de Bellas Artes de San Fernando (The Academy of fined arts of St. Ferdinan) กรุงมาดริดประเทศสเปน

ที่มา https://th-th.facebook.com/notes/siriphong-pakaratsakun/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87/10153375704698423/

พระพุทธลักษณะ 32 ประการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหา
บุรุษประกอบแล้วย่อม มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้น เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะ ได้เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้
๑. มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี ภิกษุทั้งหลาย การที่พระมหาบุรุษ มีพระบาท
ประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ ฯ
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำ ข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็
มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ฯ
๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้ม ด้วยทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขดเป็น
กุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของ
พระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม] ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การตอบแทนคุณ บิดามารดา

ตอบแทนคุณ บิดา มารดา
๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ ท่าน 
ทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดา 
ด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่งเขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขา 
พึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่าน 
ทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำ 
อย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ 
๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้ว 
แก่มารดาบิดาเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดง 
โลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธา 
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่
ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา 
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว 
และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ