วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 2

ประสูตร และ พระมารดาสิ้นพระชนม์

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 2

ทำนาย หลังประสูตร เจ้าชายสิทธัตถะ

[๑๓๓] พระมหาบุรุษยินดีในวจีสัจ ในธรรม [กุศลกรรมบถ] ความฝึกตน
ความสำรวม ความเป็นผู้สะอาด ศีลที่เป็นอาลัย อุโบสถกรรม ความ
ไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ และกรรมอันไม่ สาหัส สมาทานแล้วมั่นคง ทรง
ประพฤติมาแล้วอย่างรอบคอบ เพราะกรรมนั้น พระมหาบุรุษจึงหลีกไปสู่
ไตรทิพย์ เสวย ความสุขและสมบัติเป็นที่เพลิดเพลินยินดี จุติจากไตร
ทิพย์แล้ว เวียนมาในโลกนี้ เหยียบปฐพีด้วยฝ่าพระบาทอันเรียบ พวก
พราหมณ์ผู้ทำนายพระลักษณะมาประชุมกันแล้วทำนายว่า พระราชกุมารนี้
มีฝ่าพระบาทประดิษฐานเรียบ เป็นคฤหัสถ์หรือ บรรพชิต ก็ไม่มีใคร
ข่มได้ พระลักษณะนั้นย่อมเป็นนิมิตส่อง เนื้อความนั้น พระราชกุมารนี้
เมื่ออยู่ครองฆราวาส ไม่มีใคร สามารถข่มได้ มีแต่ครอบงำพวกปรปักษ์
เหล่าศัตรูมิอาจย่ำยีได้ ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้หาข่มได้ไม่ เพราะ
ผลแห่งกุศล กรรมนั้น ถ้าพระราชกุมารเช่นนั้น เข้าถึงบรรพชา ทรง
ยินดี ยิ่งด้วยความพอใจในเนกขัมมะ จะมีพระปรีชาเห็นแจ่มแจ้ง เป็น
อัครบุคคล ไม่ถึงความเป็นผู้อันใครๆ ข่มได้ ย่อมเป็นผู้ สูงสุดกว่า
นรชน อันนี้แลเป็นธรรมดาของพระกุมารนั้น ฯ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน
ได้เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทาภัยคือความ หวาดกลัวและความหวาดเสียว
จัดความรักษาปกครองป้องกันโดยธรรม และ บำเพ็ญทานพร้อมด้วยวัตถุอันเป็นบริวาร เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันตนทำสั่งสม พอกพูน
ไพบูลย์ ฯ
ตถาคตย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณ
ทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์
และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็นอย่างนี้ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหา
ปุริสลักษณะนี้ คือ ในฝ่าพระบาททั้ง ๒ มีจักรเกิดเป็นอันมาก มีซี่กำพันหนึ่ง มีกง มีดุม
บริบูรณ์ด้วยอาการ ทั้งปวง มีระหว่างอันกุศลกรรมแบ่งเป็นอันดี พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษ
ณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อ
เป็นพระราชาจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก คือ มีบริวารเป็นพราหมณ์ เป็น คฤหบดี เป็น
ชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็น กองทหาร เป็นนายประตู เป็น
อำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็น ราชกุมาร ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือน
ทรงผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
เมื่อเป็นพระ พุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก คือ มี
บริวารเป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร
เป็นนาค เป็นคนธรรพ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้ไว้ พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าว 

คาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะนั้นว่า ฯ 

พุทธลัษณะ 32 ประการ

อาญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็น
บรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ฯ
ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่าไหน อันเป็นเหตุ
ให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มี มหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว
มีพระราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วย แก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ฯลฯ ครอบครองแผ่นดินมี
สาคร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ฯ
[๒๙] ๑. ขอเดชะ ก็ พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี (เรียบเสมอ)
ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของ
มหาบุรุษนั้น ฯ
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ข้าแต่สมมติเทพ แม้ การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒
ของพระราชกุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็เป็น
มหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประดุจหุ้มด้วย ทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขด
เป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกาย
ของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกการวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท (ดำคม) ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งขนง มีสีขาวอ่อนควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้าแต่สมมติเทพ แม้ การที่พระราช
กุมารนี้ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ ก็เป็นมหาปุริส  ลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
[๓๐] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่า นี้ ซึ่งมีคติ
เป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณา
จักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
คฤหบดีแก้ว ปริณายาแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูป
ทรงสมเป็น วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้อง ใช้
อาชญา มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออก ผนวชเป็นบรรพชิต
จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส อันเปิดแล้วในโลก ฯ 

พระมารดา ของพระพุทธเจ้า สวรรคต ภายใน ๗ วัน
[๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้   วันพระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ
เสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำ
ไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 


วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

อานิสสงของอานานปานสติ

แผนผังอานิสสงของอานาปาสติ



[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรใน 
อันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมาก 
มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้ 
บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ 
ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ 
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว 
อย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี 
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมี 
สติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ 
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ 
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจ 
ออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก 
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่า 
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเรา 
จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียก 
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตาม 
พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หาย 
ใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตาม 
พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผล 
มาก มีอานิสงส์มาก ฯ 
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว 
อย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ 
ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย 
ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก 
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย 
ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว 
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก 
ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า 
พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจ 
ออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หาย 
ใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณา 
เห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนา 
ชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาใน 
เวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเรา 
จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ 
ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายใน 
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส

และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ 
วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร 
รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า 
บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ 

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 1 ประสูตร

พระชนก และ พระชนนี
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า   มายา เป็นพระ

ชนนีบังเกิดเกล้าของเราในบัดนี้ พระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์   ได้เป็นราชธานีของพระเจ้าสุทโธทนะ

ชาติสุดท้าย ก่อนลงมาจุติ ในโลกมนุษย์

[๓๖๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต จนตลอดอายุ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของ
พระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิตแล้วลงสู่พระครรภ์
พระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ

เหตุการณ์ มหัสจรรย์ ขณะลงมาประสูตร

[๓๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใดพระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทวดา ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระมารดา
ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา
ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวดามารพรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรก ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่ความมืดมิด
ซึ่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่าง
อย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้
หมู่สัตว์ผู้อุบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่งหมื่นโลกธาตุนี้
ย่อมสะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่ง
เทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์
ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 

[๓๖๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
เทวบุตรทั้ง ๔ จะใกล้ชิดพระโพธิสัตว์ถวายอารักขาใน ๔ ทิศ ด้วยคิดว่า มนุษย์ หรืออมนุษย์
หรือใครๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของ
พระผู้มีพระภาค ฯ 

การถือศีลของพระมารดา ของพระโพธิสัตว์
[๓๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้มีศีลโดยปรกติ คือเว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจาก
อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารเว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์
ก็ทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ มิได้มีพระหฤทัยใฝ่ฝันกามคุณในบุรุษเกิดขึ้น และจะเป็นผู้ไม่ถูก
บุรุษไรๆ ที่มีจิตกำหนัดแล้วล่วงเกินได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า
เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 

[๓๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้ได้เบญจกามคุณคือ พระนางจะเพรียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ บำเรออยู่ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่า
เป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆเกิดขึ้น จะมีความสุข ไม่ลำบากพระกาย
และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์
ไม่เสื่อมโทรมได้ เปรียบ เหมือนแก้วไพฑูรย์งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขาเจียระไนดีแล้ว
ในแก้วนั้น เขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่ เข้าไว้
บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นในมือ พึงเห็นชัดได้ว่า แก้วไพฑูรย์นี้งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขา
เจียระไนดีแล้ว ในแก้วนั้น เขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่
เข้าไว้ ฉันใด ดูกรอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์
พระมารดาแล้ว ในกาลนั้นพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆ เกิดขึ้น จะมี
ความสุข ไม่ลำบากพระกาย และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า
เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 


พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ เสด็จสวรรคต เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้ ๗ วัน

[๓๗๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้ ๗ วันพระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ
เสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำ
ไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ


ระยะเวลาครองพระครรภ์

[๓๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติโพธิสัตว์ ไม่เหมือนอย่าง
หญิงอื่นๆ ที่ครองครรภ์ด้วยท้อง ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือนแล้วจึงคลอด คือ พระนางจะทรงครอง
พระโพธิสัตว์ด้วยพระอุทร ๑๐ เดือนถ้วนแล้วจึงประสูติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์
ก็ทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนอย่างหญิง
อื่นๆ ที่นั่งหรือนอนคลอด คือ พระนางจะประทับ ยืนท่าเดียวแล้วประสูติพระโพธิสัตว์ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของพระผู้มีพระภาค ฯ

พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ประสูตร
[๓๗๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
พวกเทวดาจะรับก่อน พวกมนุษย์จะรับทีหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรง
จำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 

[๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตรทั้ง ๔ ก็รับแล้ววางลงตรงพระพักตร์พระมารดา
ให้ทรงหมายรู้ว่า ขอพระเทวีจงมีพระทัยยินดี เถิด พระโอรสของพระองค์ผู้มีศักดิ์มากเสด็จ
อุปบัติแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้ คือ ไม่ แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด
ด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาวางลง
บนผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปื้อนผ้ากาสิกพัสตร์ แม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่เปื้อนแก้วมณี นั่นเพราะ
เหตุไรเพราะของทั้งสองอย่างบริสุทธิ์ ฉันใด ดูกรอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด
พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้
คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือดด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่า
หมดจดบริสุทธิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
ธารน้ำ ๒ สายย่อมปรากฏจากอากาศ สายหนึ่งเป็นธารน้ำเย็น สายหนึ่งเป็นธารน้ำอุ่น เป็นเครื่อง
ทำการสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า
เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดลที่ประสูติ ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอบนแผ่นดิน
แล้วบ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตร
ตามไป พระองค์จะทรงเหลียว ดูทิศทั้งปวง และทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า เราเป็นผู้เลิศ
ในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้
ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรม
ไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก
พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา
และมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรก ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่างอย่างโอฬารหา ประมาณมิได้
ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้หมู่สัตว์ผู้อุปบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า
แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว และแสง
สว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล เธอจงทรงจำธรรมไม่น่า
เป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของตถาคต แม้นี้ไว้เถิด ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เวทนาของตถาคต
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปสัญญาของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ
ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป ดูกรอานนท์ แม้ข้อนี้แล เธอก็จงทรงจำไว้เถิดว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของตถาคต ฯ
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่เวทนาของพระผู้มีพระภาค
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป สัญญาของพระผู้มี พระภาค ปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกของพระผู้มีพระภาค ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่
ปรากฏถึงความดับไป นี้ ข้าพระองค์ก็จะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของพระผู้มีพระภาค ฯ
ท่านพระอานนท์กล่าวคำนี้จบแล้ว พระศาสดาได้ทรงโปรดปราน ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล ฯ
จบ อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร ที่ ๓

ธรรมะของพระพุทธเจ้า เปลี่ยนชีวิต



วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Download ฟรี โปรแกรมพระไตรปิฎก ไม่สังกัดวัด สำหรับคนไทย และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป


การ Download และ ติดตั้งโปรแกรม ThaiTipitaka

โปรแกรมพระไตรปิฎก ภาษาไทย ทุกฉบับ

พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ
พระไตรปิฎกฉบับบหลวง
พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา
พระไตรปิฎกฉบับมหามงกุฏ
พระไตรปิฎกคำอ่านบาลีภาษาอังกฤษ (โรมัน)

Down Load โปรแกรมจาก 






UnZip โปรแกรมทั้งหมดไว้ใน Drive D:/Thai_Tipitaka




Double Click โปรแกรมพร้อมใช้งาน

การใช้งานโปรแกรมพระไตรปิฎก โปรดคลิกเพื่อดูภาพขยายใหญ่



วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชรา มรณา แฝงตัว

วันใดที่ลุ่มหลงความงาม ของหนุ่มสาว วันนั้นความชรา และ มรณา ก็คืบคลาน และ แฝงตัวเข้ามาอยู่ในที

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ละความง่วง กำจัดความง่วง

โมคคัลลานสูตร

ละความง่วง กำจัดความง่วง

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลา มิคทายวันใกล้สุงสุมาร
คีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม
แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้าน
กัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจาก
เภสกลามิคทายวันใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหา
โมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้
หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัส
ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ
 ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
     ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อม
ครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้ว
ด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตาม
ที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายัง
ละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วง
นั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว
นักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึง
เอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร
 กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะ
เป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมาย
เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความ
ง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้า
เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า
เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ ดูกร
โมคคัลลานะเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
     ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้อีกว่า เราจักไม่ชูงวง [ถือตัว]
เข้าไปสู่ตระกูล ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล และ
ในตระกูลมีกรณียกิจหลายอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้มนุษย์ไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาแล้ว เพราะเหตุนั้น
ภิกษุย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกในสกุลนี้ เดี๋ยวนี้ดูมนุษย์พวกนี้
มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะไม่ได้อะไร เธอจึงเป็นผู้เก้อเขิน เมื่อเก้อเขิน ย่อมคิด
ฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ
     เพราะฉะนั้นแหละ โมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักไม่พูดถ้อยคำซึ่งจะเป็น
เหตุให้ทุ่มเถียงกัน ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่ม
เถียงกัน ก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่
สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ ฯ
     ดูกรโมคคัลลานะ อนึ่ง เราหาสรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงไม่ แต่มิใช่ว่า
จะไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประการทั้งปวงก็หามิได้ คือ เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วย
หมู่ชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็แต่ว่า เสนาสนะอันใดเงียบเสียง ไม่อื้ออึง  ปราศจากการ
สัญจรของหมู่ชน ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการความสงัด ควรเป็นที่หลีกออกเร้น เรา
สรรเสริญความคลุกคลีด้วยเสนาสนะเห็นปานนั้น ฯ
     เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้น
ตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน
 มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
     พ. ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น ครั้น
ได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญา
อันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนา
เหล่านั้น พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืน เมื่อ
เธอพิจารณาเห็นอย่างนั้นๆ อยู่ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
 กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้
เกษมจากโยคะล่วงส่วนเป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๘