วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ศีล 10 บาลี ไทย แปล

ศีล 10 เต็ม สำเนียงไทย (มหานิกาย ธรรมยุตินิกาย ปรับสำเนียง เล็กน้อย)
1. ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากทำลายชีวิต
2. อทินนา ทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. อพรัหมะจริยา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
4. มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากพูดเท็จ
5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
6. วิกาละโภชนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเวลาตั้งแต่เลยเที่ยงขึ้นไปจนถึงขึ้นเช้าวันใหม่
7. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี
8. มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฺฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ :  เว้นจากการประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม
9. อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี
10. ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ : เว้นจากการรับทองและเงิน

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

ความรู้สึกดีๆ เหมือนกับได้มาเจอ "ญาติผู้ใหญ่" ที่ไม่ได้พบกันเสียนานนม

ความรู้สึกดีๆ เหมือนกับได้มาเจอ "ญาติผู้ใหญ่" ที่ไม่ได้พบกันเสียนานนม

++++++
สุสิมะ ! แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัยของผู้นั้น ดังนี้.
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕๑/๒๙๐.
++++++
พวกใด ยังผูกใจเจ็บอยู่ว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับไม่ลง.
พวกใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า ‘ผู้นั้นได้ด่าเรา ได้ทำร้ายเรา ได้เอาชนะเรา ได้ลักทรัพย์ของเรา’ เวรของพวกนั้น ย่อมระงับได้.
ในยุคไหนก็ตาม เวรทั้งหลาย ไม่เคยระงับได้ด้วยการผูกเวรเลย แต่ระงับได้ด้วยไม่มีการผูกเวร ธรรมนี้เป็นของเก่าที่ใช้ได้ตลอดกาล.
-บาลี มหา. วิ. ๕/๓๑๒/๒๓๘.
++++++
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครด้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง; ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๕๔, ๒๕๖/๒๖๗, ๒๖๙.

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันเข้าพรรษา

วัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๐๕] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติ
การจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน.
คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เที่ยว
จาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์
อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
เหล่านี้เป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า
ก็ยังทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้ เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วันหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิกา
วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วง
ไปแล้ววันหนึ่ง พึงเข้าพรรษาต้น เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือนหนึ่ง
พึงเข้าพรรษาหลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเท่านี้แล.