วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อานิสสง การถวายกุฏิที่พักสงฆ์

#คาถาอนุโมทนาวิหารทาน

[๒๐๓] วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน และเนื้อร้าย นอกจากนั้นยัง ป้องกันงูและยุง ฝนในสิสิรฤดู(ฤดูหมอกหรือน้ำค้าง) นอกจากนั้นวิหารยังป้องกันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อ    หลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณาและเพื่อเห็น    แจ้งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ 

เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้าง วิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูต อยู่ในวิหารนี้เถิด 

อนึ่ง  พึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้าและเสนาสนะ อันเหมาะ   สมแก่พวกเธอ ในพวกเธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอ ย่อม  แสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้ทั่วถึง  แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาท่านราชคหเศรษฐี ด้วยคาถาเหล่านี้  แล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ฯ

+++++++++++++++++++++++++++

 พุทธานุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด
  [๒๐๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร ๑ เรือนมุงแถบเดียว ๑  เรือนชั้น ๑ เรือนโล้น ๑ ถ้ำ ๑ ฯ

  [๒๐๑] ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้วได้กล่าวว่า คหบดี พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตวิหารแล้ว บัดนี้เป็นการสมควรที่จะสร้างได้ราชคหเศรษฐีให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังโดยวันเดียวเท่านั้น ครั้นให้สร้างเสร็จแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูล  อาราธนาว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหาร    ของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดย ดุษณีภาพ ครั้นเศรษฐีทราบว่า ทรงรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมทำประทักษิณ กลับไปแล้ว ให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตโดยล่วง ราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว    ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    ถวายวิหาร
  [๒๐๒] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก ถือบาตรจีวร  เสด็จไปยังนิเวศน์ของราชคหเศรษฐี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาด   ถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  จึงราชคหเศรษฐี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น    ประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาค  ผู้เสวยแล้ว ลดพระหัสถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าต้องการบุญ ต้องการ   สวรรค์ ได้ให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังนี้ไว้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร ในวิหารเหล่านั้นพระพุทธเจ้าข้า

  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรคหบดี ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวายวิหารเหล่า  นั้นแก่สงฆ์
จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ราชคหเศรษฐีทูลรับพระพุทธดำรัส แล้ว ได้ถวายวิหารเหล่านั้นแก่สงฆ์ จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา

  ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่ราชคหเศรษฐีด้วยคาถาเหล่านี้ว่าดังนี้:

#คาถาอนุโมทนาวิหารทาน

[๒๐๓] วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน และเนื้อร้าย นอกจากนั้นยัง ป้องกันงูและยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้นวิหารยังป้องกันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อ    หลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณาและเพื่อเห็น    แจ้งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ 

เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้าง วิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูต อยู่ในวิหารนี้เถิด 

อนึ่ง  พึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้าและเสนาสนะ อันเหมาะ   สมแก่พวกเธอ ในพวกเธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอ ย่อม  แสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้ทั่วถึง  แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาท่านราชคหเศรษฐี ด้วยคาถาเหล่านี้  แล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ฯ

#คำสอนพระพุทธเจ้า
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ธรรม โปรแกรมพระไตรปิฎก แจกฟรี เราพัฒนาอะไร

ธรรม ไม่ต้องค้นหาพระสูตร พระไตรปิฎกฟรี

ติดตามกันได้ keyword หรือ ทางลัดสู่เนื้อหาของนิพพานในพระไตรปิฎก

Download ได้ฟรี โปรแกรมพระไตรปิฎก

http://dharma-of-buddha.blogspot.com/2015/08/download-thaitipitaka-down-load.html




พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ฌาน ก่อนการตรัสรู้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ไทย-บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ 23 ข้อที่ 245

พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ฌาน ก่อนการตรัสรู้

  ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี เหตุแห่งถ้อยคำนี้มีอยู่มาเราไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
กันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วจักกราบทูลเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาค
จักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจักกระทำอย่างนั้น ตปุสสคฤหบดีรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
 ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยตปุสสคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า
เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เพลิดเพลินยินดีหมกมุ่นอยู่ในกามเนกขัมมะไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า
เหล่านั้นเหมือนดังเหว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สดับมาดังนี้ว่า จิตของพวกภิกษุ
หนุ่มๆ ในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ
เมื่อเธอเหล่านั้นพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล้วนแต่เป็น
วิสภาคกับชนเป็นอันมาก นั่นก็ คือ เนกขัมมะ ดังนี้ พระเจ้าข้า ฯ
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ดูกร
อานนท์ แม้เมื่อเราเองก่อนแต่การตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้
ว่า เนกขัมมะเป็นความดี วิเวกเป็นความดี จิตของเรานั้นยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่
ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ยังไม่หลุดพ้นใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นี้สงบ เรานั้น
ได้มีความคิดว่าอะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเรา ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น ใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้น
จึงคิดต่อไปว่าโทษในกามทั้งหลายที่เรายังไม่เห็น และไม่ได้กระทำให้มากอานิสงส์ในเนกขัมมะ
 เรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพโดยมาก เพราะฉะนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า ถ้าว่าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ใน
เนกขัมมะแล้วพึงเสพอานิสงส์นั้นโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราจะพึง
แล่นไปพึงเลื่อมใส พึงตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พึงหลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เมื่อเราพิจารณา
เห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในกามแล้วได้กระทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพโดยมาก จิตของเรานั้นจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ
 หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เราสงัดจากกาม
 สงัดจากอกุศลธรรมบรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่ยเรานั้นอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเรา
เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงบังเกิดขึ้นแก่คนผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ดูกรอานนท์
จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร ไม่หลุดพ้นใน
เพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพื่อพิจารณาเห็นว่านั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความ
คิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มี
วิตกวิจาร เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในวิตก
เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้
เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในวิตกแล้วพึงกระทำให้
มาก บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจารแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะ
มีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นแล เห็นโทษในวิตก ...
เสพโดยมาก ดูกรอานนท์จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร …
 เรานั้นบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต
ด้วยวิตก ... ฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราจะพึงมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ดูกร
อานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่าอะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ...
 ในเพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า
โทษในปีติ เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในตติยฌานอันไม่มีปีติ เราไม่ได้บรรลุและ
ไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป ...ในเพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในปีติแล้วพึงกระทำให้มาก
 บรรลุอานิสงส์ในตติยฌานอันไม่มีปีติแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิต
ของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมาเรานั้นเห็นโทษในปีติ ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์
จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ ... เรานั้นบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ดูกร
อานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ... ฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุจตุตถฌาน ...ดูกรอานนท์
จิตของเรานั้น ย่อมไม่แล่นไป ... ในจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิต
ของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ
ดูกรอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า โทษในอุเบกขาและสุข เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์
ในจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึง
ไม่แล่นไป ... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้
มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ใน
จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเรา
พึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอุเบกขาและสุข ... เสพโดยมาก ดูกร
อานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ... เรานั้นบรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย
อุเบกขา ... ฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ...
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณา
เห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิต
ของเราไม่แล่นไป ...ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในรูปฌานทั้งหลาย เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มากอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ...
ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่านั่นสงบเรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแล
เราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลายแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน
แล้ว พึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัย
ต่อมา เราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลาย ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ...ใน
เพราะอากาสานัญจายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯดูกรอานนท์ เมื่อ
เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปฌานทั้งหลาย ... ฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ...
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็น
ว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิต
ของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มากอานิสงส์
ในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่น
ไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่านั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแล
เราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตน
ฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์
สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเราจึง
แล่นไป ... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ... ดูกร
อานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ...
 ฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ...
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณา
เห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้จิตของเราไม่แล่นไป ...ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกร
อานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเรา
จึงไม่แล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มี
ความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์
ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมากข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเรา
พึงแล่นไป ... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมาเรานั้นเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน ... เสพโดยมาก
 ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน ... เรานั้นแล ... บรรลุอากิญ
จัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วย
วิญญาณัญจายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา ... พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะพิจารณา
เห็นว่านั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิต
ของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกร
อานนท์เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก
อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิต
ของเรา จึงไม่แล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ
เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌานแล้วกระทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิต
ของเราพึงแล่นไป... ดูกรอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน ... เสพโดยมาก
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ...เรานั้นแล
... บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ... ดูกรอานนท์ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา
มนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ... ฉะนั้น ฯ
     ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญา
ยตนฌาน พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ
 ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่าอะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้
เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ
ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้น
ได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ  จิตของเรา
จะพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ
เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญา
ยตนฌานแล้วทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดยมาก ดูกรอานนท์
จิตของเรานั้นจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ
เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง และอาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา ฯ
     ดูกรอานนท์ ก็เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ประการนี้ โดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
 ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรอานนท์ก็เมื่อใดแล เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ
๙ ประการนี้ โดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่ง
อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่าเจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

ธรรมจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 9-10

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 9-10 หลงกาม และ หลุดจากกาม

ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย
ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล
ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น
ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ

กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.

 [๒๑๒] ดูกรมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นคุณของกามทั้งหลาย? ดูกรมหานาม กามคุณ
๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรมหานาม กามคุณ ๕ ประการ
เหล่านี้แล ความสุข ความโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย




วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 3-8

พรั่งพร้อมด้วยสุข ไม่มีทุกข์

นครของเราชื่อกบิลพัสดุ์
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นโยมบิดาของเรา โยมมารดาบังเกิดเกล้าของเรา
เรียกพระนามว่า มายาเทวี เราครอบครองอาคารสถานอยู่ ๒๙ ปี
มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุจันทะ โกกนุทะ และ
โกญจะ มีสนมนารีกำนัลในแปดหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดา
สวยงาม มเหสีของเรานามว่า ยโสธรา บุตรชายของเราชื่อว่าราหุล...

 [๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์อย่างยิ่งไม่มีทุกข์โดยส่วนเดียว
ได้ยินว่า พระชนกรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีไว้เพื่อเราภายในนิเวศน์ ให้ปลูกอุบลไว้สระหนึ่ง
 ปทุมไว้สระหนึ่ง ปุณฑริกไว้สระหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่เรา แต่เราไม่ได้ใช้ไม้จันทน์เมืองกาสี
เท่านั้น ผ้าโพก เสื้อผ้านุ่ง ผ้าห่มของเรา ล้วนเกิดในเมืองกาสี มีคนคอยกั้นเศวตฉัตรให้เรา
ตลอดคืนตลอดวัน ด้วยหวังว่า    หนาว    ร้อน    ธุลี    หญ้า    หรือน้ำค้าง   อย่าเบียดเบียน
พระองค์ท่านได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีปราสาท ๓ หลัง ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ ในฤดูหนาว
 ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝนเรานั้นแลถูกบำเรอด้วยดนตรี
ซึ่งไม่มีบุรุษปนตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน บนปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มิได้ลงมาข้างล่าง
ปราสาทเลย ในนิเวศน์แห่งพระชนกของเรา เขาให้ข้าวสาลีระคนด้วยมังสะแก่ทาสกรรมกร
บุรุษ ทำนองเดียวกับที่ในนิเวศน์ของเขาอื่น เขาให้ข้าวป่นอันมีน้ำส้มเป็นที่สอง ฉะนั้น ดูกร
ภิกษุทั้งหลายเรานั้นซึ่งประกอบด้วยความสำเร็จเห็นปานดังนี้ เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง...

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 2

ประสูตร และ พระมารดาสิ้นพระชนม์

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 2

ทำนาย หลังประสูตร เจ้าชายสิทธัตถะ

[๑๓๓] พระมหาบุรุษยินดีในวจีสัจ ในธรรม [กุศลกรรมบถ] ความฝึกตน
ความสำรวม ความเป็นผู้สะอาด ศีลที่เป็นอาลัย อุโบสถกรรม ความ
ไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ และกรรมอันไม่ สาหัส สมาทานแล้วมั่นคง ทรง
ประพฤติมาแล้วอย่างรอบคอบ เพราะกรรมนั้น พระมหาบุรุษจึงหลีกไปสู่
ไตรทิพย์ เสวย ความสุขและสมบัติเป็นที่เพลิดเพลินยินดี จุติจากไตร
ทิพย์แล้ว เวียนมาในโลกนี้ เหยียบปฐพีด้วยฝ่าพระบาทอันเรียบ พวก
พราหมณ์ผู้ทำนายพระลักษณะมาประชุมกันแล้วทำนายว่า พระราชกุมารนี้
มีฝ่าพระบาทประดิษฐานเรียบ เป็นคฤหัสถ์หรือ บรรพชิต ก็ไม่มีใคร
ข่มได้ พระลักษณะนั้นย่อมเป็นนิมิตส่อง เนื้อความนั้น พระราชกุมารนี้
เมื่ออยู่ครองฆราวาส ไม่มีใคร สามารถข่มได้ มีแต่ครอบงำพวกปรปักษ์
เหล่าศัตรูมิอาจย่ำยีได้ ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้หาข่มได้ไม่ เพราะ
ผลแห่งกุศล กรรมนั้น ถ้าพระราชกุมารเช่นนั้น เข้าถึงบรรพชา ทรง
ยินดี ยิ่งด้วยความพอใจในเนกขัมมะ จะมีพระปรีชาเห็นแจ่มแจ้ง เป็น
อัครบุคคล ไม่ถึงความเป็นผู้อันใครๆ ข่มได้ ย่อมเป็นผู้ สูงสุดกว่า
นรชน อันนี้แลเป็นธรรมดาของพระกุมารนั้น ฯ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน
ได้เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทาภัยคือความ หวาดกลัวและความหวาดเสียว
จัดความรักษาปกครองป้องกันโดยธรรม และ บำเพ็ญทานพร้อมด้วยวัตถุอันเป็นบริวาร เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันตนทำสั่งสม พอกพูน
ไพบูลย์ ฯ
ตถาคตย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณ
ทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์
และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็นอย่างนี้ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหา
ปุริสลักษณะนี้ คือ ในฝ่าพระบาททั้ง ๒ มีจักรเกิดเป็นอันมาก มีซี่กำพันหนึ่ง มีกง มีดุม
บริบูรณ์ด้วยอาการ ทั้งปวง มีระหว่างอันกุศลกรรมแบ่งเป็นอันดี พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษ
ณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อ
เป็นพระราชาจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก คือ มีบริวารเป็นพราหมณ์ เป็น คฤหบดี เป็น
ชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็น กองทหาร เป็นนายประตู เป็น
อำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็น ราชกุมาร ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือน
ทรงผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
เมื่อเป็นพระ พุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก คือ มี
บริวารเป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร
เป็นนาค เป็นคนธรรพ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้ไว้ พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าว 

คาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะนั้นว่า ฯ 

พุทธลัษณะ 32 ประการ

อาญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็น
บรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ฯ
ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่าไหน อันเป็นเหตุ
ให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มี มหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว
มีพระราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วย แก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ฯลฯ ครอบครองแผ่นดินมี
สาคร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ฯ
[๒๙] ๑. ขอเดชะ ก็ พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี (เรียบเสมอ)
ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของ
มหาบุรุษนั้น ฯ
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน
มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ข้าแต่สมมติเทพ แม้ การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒
ของพระราชกุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็เป็น
มหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
๔. มีพระองคุลียาว ฯ
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประดุจหุ้มด้วย ทอง ฯ
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขด
เป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกาย
ของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกการวิก ฯ
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท (ดำคม) ฯ
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งขนง มีสีขาวอ่อนควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้าแต่สมมติเทพ แม้ การที่พระราช
กุมารนี้ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ ก็เป็นมหาปุริส  ลักษณะของมหาบุรุษนั้น ฯ
[๓๐] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่า นี้ ซึ่งมีคติ
เป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณา
จักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
คฤหบดีแก้ว ปริณายาแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูป
ทรงสมเป็น วีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้อง ใช้
อาชญา มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออก ผนวชเป็นบรรพชิต
จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส อันเปิดแล้วในโลก ฯ 

พระมารดา ของพระพุทธเจ้า สวรรคต ภายใน ๗ วัน
[๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้   วันพระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ
เสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำ
ไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 


วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

อานิสสงของอานานปานสติ

แผนผังอานิสสงของอานาปาสติ



[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรใน 
อันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมาก 
มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้ 
บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ 
ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ 
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว 
อย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี 
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมี 
สติหายใจออก มีสติหายใจเข้าเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจ 
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ 
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจ 
ออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก 
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่า 
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเรา 
จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียก 
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตาม 
พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หาย 
ใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตาม 
พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผล 
มาก มีอานิสงส์มาก ฯ 
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว 
อย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ 
ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย 
ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก 
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง 
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย 
ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว 
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก 
ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า 
พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก 
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจ 
ออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หาย 
ใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณา 
เห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนา 
ชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาใน 
เวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเรา 
จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ 
ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า 
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายใน 
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส

และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ 
วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร 
รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า 
บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ 

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อความจากพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 1 ประสูตร

พระชนก และ พระชนนี
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า   มายา เป็นพระ

ชนนีบังเกิดเกล้าของเราในบัดนี้ พระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์   ได้เป็นราชธานีของพระเจ้าสุทโธทนะ

ชาติสุดท้าย ก่อนลงมาจุติ ในโลกมนุษย์

[๓๖๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต จนตลอดอายุ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของ
พระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิตแล้วลงสู่พระครรภ์
พระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ

เหตุการณ์ มหัสจรรย์ ขณะลงมาประสูตร

[๓๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใดพระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทวดา ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระมารดา
ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา
ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวดามารพรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรก ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่ความมืดมิด
ซึ่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่าง
อย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้
หมู่สัตว์ผู้อุบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่งหมื่นโลกธาตุนี้
ย่อมสะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่ง
เทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์
ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 

[๓๖๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
เทวบุตรทั้ง ๔ จะใกล้ชิดพระโพธิสัตว์ถวายอารักขาใน ๔ ทิศ ด้วยคิดว่า มนุษย์ หรืออมนุษย์
หรือใครๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของ
พระผู้มีพระภาค ฯ 

การถือศีลของพระมารดา ของพระโพธิสัตว์
[๓๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้มีศีลโดยปรกติ คือเว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจาก
อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารเว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์
ก็ทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ มิได้มีพระหฤทัยใฝ่ฝันกามคุณในบุรุษเกิดขึ้น และจะเป็นผู้ไม่ถูก
บุรุษไรๆ ที่มีจิตกำหนัดแล้วล่วงเกินได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า
เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 

[๓๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้ได้เบญจกามคุณคือ พระนางจะเพรียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ บำเรออยู่ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่า
เป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆเกิดขึ้น จะมีความสุข ไม่ลำบากพระกาย
และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์
ไม่เสื่อมโทรมได้ เปรียบ เหมือนแก้วไพฑูรย์งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขาเจียระไนดีแล้ว
ในแก้วนั้น เขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่ เข้าไว้
บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นในมือ พึงเห็นชัดได้ว่า แก้วไพฑูรย์นี้งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขา
เจียระไนดีแล้ว ในแก้วนั้น เขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่
เข้าไว้ ฉันใด ดูกรอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์
พระมารดาแล้ว ในกาลนั้นพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆ เกิดขึ้น จะมี
ความสุข ไม่ลำบากพระกาย และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า
เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 


พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ เสด็จสวรรคต เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้ ๗ วัน

[๓๗๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้ ๗ วันพระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ
เสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำ
ไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ


ระยะเวลาครองพระครรภ์

[๓๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติโพธิสัตว์ ไม่เหมือนอย่าง
หญิงอื่นๆ ที่ครองครรภ์ด้วยท้อง ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือนแล้วจึงคลอด คือ พระนางจะทรงครอง
พระโพธิสัตว์ด้วยพระอุทร ๑๐ เดือนถ้วนแล้วจึงประสูติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์
ก็ทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนอย่างหญิง
อื่นๆ ที่นั่งหรือนอนคลอด คือ พระนางจะประทับ ยืนท่าเดียวแล้วประสูติพระโพธิสัตว์ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของพระผู้มีพระภาค ฯ

พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ประสูตร
[๓๗๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
พวกเทวดาจะรับก่อน พวกมนุษย์จะรับทีหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรง
จำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ 

[๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตรทั้ง ๔ ก็รับแล้ววางลงตรงพระพักตร์พระมารดา
ให้ทรงหมายรู้ว่า ขอพระเทวีจงมีพระทัยยินดี เถิด พระโอรสของพระองค์ผู้มีศักดิ์มากเสด็จ
อุปบัติแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้ คือ ไม่ แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด
ด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาวางลง
บนผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปื้อนผ้ากาสิกพัสตร์ แม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่เปื้อนแก้วมณี นั่นเพราะ
เหตุไรเพราะของทั้งสองอย่างบริสุทธิ์ ฉันใด ดูกรอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด
พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้
คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือดด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่า
หมดจดบริสุทธิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
ธารน้ำ ๒ สายย่อมปรากฏจากอากาศ สายหนึ่งเป็นธารน้ำเย็น สายหนึ่งเป็นธารน้ำอุ่น เป็นเครื่อง
ทำการสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า
เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดลที่ประสูติ ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอบนแผ่นดิน
แล้วบ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตร
ตามไป พระองค์จะทรงเหลียว ดูทิศทั้งปวง และทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า เราเป็นผู้เลิศ
ในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้
ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรม
ไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก
พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา
และมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรก ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่างอย่างโอฬารหา ประมาณมิได้
ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้หมู่สัตว์ผู้อุปบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า
แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว และแสง
สว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล เธอจงทรงจำธรรมไม่น่า
เป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของตถาคต แม้นี้ไว้เถิด ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เวทนาของตถาคต
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปสัญญาของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ
ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป ดูกรอานนท์ แม้ข้อนี้แล เธอก็จงทรงจำไว้เถิดว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของตถาคต ฯ
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่เวทนาของพระผู้มีพระภาค
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป สัญญาของพระผู้มี พระภาค ปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกของพระผู้มีพระภาค ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่
ปรากฏถึงความดับไป นี้ ข้าพระองค์ก็จะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
ของพระผู้มีพระภาค ฯ
ท่านพระอานนท์กล่าวคำนี้จบแล้ว พระศาสดาได้ทรงโปรดปราน ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล ฯ
จบ อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร ที่ ๓

ธรรมะของพระพุทธเจ้า เปลี่ยนชีวิต