วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕


[๑๐๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำ
ให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[๑๐๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์อันเป็น
ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.
[๑๐๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้น
พึงขยายความออกไปเหมือนมรรคสังยุต)
[๑๐๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงสู่ทิศปราจีน บ่า
ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด
โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[๑๐๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อัน
เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
[๑๐๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะ
เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล
(อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต)

ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔


[๘๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้
มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น
เหมือนกัน.
[๘๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติ
ปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มาก
ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ฯลฯ
[๘๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้ สังโยชน์ ๕
เป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล.
[๘๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕
เหล่านี้แล (สติปัฏฐานสังยุต พึงให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)
     แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่สมุทรทั้งสองอย่างๆ ละ ๖
รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่ามรรค.

ว่าด้วยวิธีกำจัดอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕


[๓๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้
๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
[๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ
สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม
เจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ
สัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.

อาศัยศีลเจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน


[๒๗๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่าง
หนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การ
งานที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้ง
อยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน


ทารุขันธสูตรที่ ๑
[๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง  พระผู้มีพระภาค
ได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัส
ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำ
พัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่าม
กลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แลท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่ากระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก
ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ ด้วย
ประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพานข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
[๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไรการจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การ
เกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไรอมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร
ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อ
แห่งอายตนะภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง  เป็น
ชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย
เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้
เรียกว่ามนุษย์ผู้จับดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ  หรือด้วยพรหม
จรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุนี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ
คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ
มีการงานปกปิดไว้ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็น
พรหมจารีเป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าความ
เป็นผู้เน่าในภายใน ฯ
[๓๒๔] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่
นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้า
ใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูก
เกลียวน้ำวนๆ ไว้จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ
ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ
พ. ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ
ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้า
ของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้
บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน
เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก
ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย
ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

ผู้เจริญอริยมรรคเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน


เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึง
เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน 

ขันธมาล


ว่าด้วยขันธมาร
[๓๖๖] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ
แล จึงเรียกว่า มาร?
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เมื่อรูปมีอยู่ มาร (ความตาย) จึงมี
ผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นรูปว่า เป็นมาร
เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์
บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมี
ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย
เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณา
เห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ.
     รา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย.
     รา. ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลายกำหนัด.
     รา. ก็ความคลายกำหนัดเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น.
     รา. ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความหลุดพ้นมีประโยชน์เพื่อนิพพาน.
     รา. นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรราธะ เธอถามเลยปัญหาไปเสียแล้ว เธอไม่อาจเพื่อถือเอาที่สุดของปัญหาได้.
ดูกรราธะ อันพรหมจรรย์เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด อันกุลบุตรย่อมอยู่
ประพฤติแล.

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เพียงแค่เรากำหนดรู้ ลมหายใจ ไม่ว่าอารมณ์ สุข หรือทุกข์ เข้ามา เราก็จะเห็นว่า ทั้งสองสิ่งไม่ได้อยู่กับเรานานเลย

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แปลเอกสารธรรมะ จากพุทธวจน เรื่อง มัคคภาวนา


มัคคภาวนา ได้แก่ 
สติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เส้นทางปฏิบัติ สู่พระนิพพาน โดยสรุป

เส้นทางปฏิบัติ สู่พระนิพพาน โดยสรุป

อริยสัจ 4

ทุกข์ ไม่สบายกาย ควรกำหนดรู้
สมุทัย อยาก ควรละ
นิโรจ ดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง
มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์
อาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
5 ค่ำ เดือน 8 แสดงธรรม ขันธ์ 5

มรรค 8  ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์

ปัญญาชอบ
ดำริชอบ
เจรจาชอบ
การงานชอบ
เลี้ยงชีวิตชอบ
พยายามชอบ
ระลึกชอบ
ตั้งจิตชอบ

อานิสงส์การบวช

ทาน คือ การอบรมจิตให้รู้จักให้
ศีล คือ การอบรมจิตให้ตั้งอยู่ในกุศลธรร­ม
สวรรค์ คือ ผลแห่งจิตที่ตั้งอยู่ในกุศลธรรม
โทษของกามารมณ์ คือ จิตที่ยังรุ่มร้อน แสวงหา เพราะยังยึดมั่นในขันธ์ 5
อานิสงส์การบวชคือ ทุกข์นี้จะดับไป ทุกข์อื่นจะไม่เกิด

ขันธ์ 5 คือ


ขันธ์ 5 คือ

รูป ร่างกาย
เวทนา รู้สึกสุข ทุกข์
สัญญา คือ ควมจำมั่นหมาย
สังขาร คิด ปรุงแต่ง
วิญญาณ คือความรู้อารมณ์ต่างๆ