วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปพระธรรมวินัย เรื่องลิงตัวเมีย

พระอนุบัญญัติ ๑ ๑. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็น ปาราชิก หาสังวาสมิได้.

สรุป พระธรรมวินัยเรื่อง พระสุทินน์

พระปฐมบัญญัติ ๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สรุป พระธรรมวินัย ที่ได้จากเรื่อง เวรัญชพราหมณ์

พระสมณะโคดม ไม่ไยดี ละ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ทำ รังเกียจ เผาผลาญ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต บาปอกุศล ขาดสูญ แสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ ไม่ผุดเกิด การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดราก ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ปฐมฌาน เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่. ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่. ตติยฌาน เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่. จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรา ได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด เรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลส

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำสอนของพุทธองค์

คำกลอนแปลงจาก คำสอนของพุทธองค์ รู้ว่าสุข อย่าลุ่มหลง จะเกิดโลภ รู้ว่าทุกข์มีโศก อย่าเศร้าหมอง อย่าไปจมกองทุกข์ ให้เข้าไปมอง แล้วค่อยๆลองถอยห่าง มองดูจนทุกข์คลาย ให้รู้ว่าจิตนี้ช่างเบื่อหนัก ว่าได้ รัก โลภ โกรธ และ หลง ทำให้คนเรานี้ มีทุกข์ระทม เลยต้องจม อยู่ในวัฏสงสาร เมื่อได้รู้อย่างนี้ ทำไมต้องทรมาร พระองค์ ทรงสอนให้ก้าวผ่านสู่นิพพานเอย

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่เกิดอีก

        ทรงแสดงจตุราริยสัจ   [๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินเข้าไปทางตำบลบ้านโกฏิ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านโกฏินั้น   ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาครับสั่งพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวก เธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไป ตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอเร่ร่อนท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานอย่างนี้ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ .... ทุกขสมุทยอริยสัจ .... ทุกขนิโรธอริยสัจ .... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธ อริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อันเราและพวกเธอได้ตรัสรู้แล้ว ได้แทงตลอด แล้ว ตัดตัณหาในภพได้ขาดแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดก็สิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีกต่อไป.           นิคมคาถา   [๗๖] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง จึงต้องท่องเที่ยว   ไปในชาตินั้นๆ ตลอดเวลานาน อริยสัจเหล่านั้นนั่น เรา   และพวกเธอได้เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปเกิดเราและพวก   เธอได้ถอนขึ้นแล้ว รากแห่งทุกข์ เราและพวกเธอก็ได้   ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.         _________________

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศีลละองค์ ห้า

ที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ดังนี้ ดูกรวัจฉะเรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้าง
ดูกรวัจฉะ
อีกประการหนึ่ง เราย่อมกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ท่านผู้มีศีลมีผลมาก ที่ให้ในคนทุศีล หาเหมือน
เช่นนั้นไม่ ทั้งท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ละองค์ ๕ เหล่าไหน
ได้ คือ ละกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ท่านผู้มี
ศีลละองค์ ๕ นี้ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน คือ ประกอบด้วยศีลขันธ์ที่เป็นของ
พระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็น
ของพระ อเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสน
ขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ นี้เรากล่าวว่า ทานที่ให้ในท่านที่
ละองค์ ๕ ได้ ประกอบด้วยองค์ ๕ ดังกล่าวมามีผลมาก ฯ

ศีลละองค์5 ถีนมิทธะ ความท้อถอย ความง่วง .....อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นสองคำคือ อุทธัจจะ กับ กุกกุจจะ .....อุทธัจจะ หมายถึงความฟุ้งซ่าน อึดอัดกลัดกลุ้ม กังวล ทำให้เกิดความเครียด ความหงุดหงิด ในคำไทยใช้ว่า อุทธัจ คือความฟุ้งซ่านความประหม่า ความขวยเขิน ....กุกกุจจะ หมายถึงความรำคาญใจ ความวิตกกังวล ทำให้อึดอัด กลุ้มใจ ....อุทธัจจกุกกุจจะ จัดเป็น นิวรณ์ คือ เครื่องปิดกั้นขัดขวางมิให้บรรลุถึงความดีและปดิกั้นความดีมิให้เข้าถึงจิต  ....อุทธัจจกุกกุจจะ เกิดจากใจที่ไม่สงบ แก้ได้ด้วยการเจริญกสิณและมรณัสสติ วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย อเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คืออธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญาอีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้ว เรียกเต็มว่า พระอเสขะ หรือ อเสขบุคคล อเสขะ ได้แก่พระอริยบุคคลระดับสูงสุดคือพระอรหันต์ ผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้องบำเพ็ญเพื่อละกิเลสอีก เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คาถาพระรอด

อิมัง พุทธะสักขีปะฏิมัง อะภิปูชะยามะ
อะยัง พุทธะสักขีปะฏิมายะ ปูชะนัสสะ
อานิสังโส อัมหากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุฯ

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปุริสคติ ๗ ประการ


ปุริสคติสูตร
     [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบัน
ก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่
กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่
ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญา
อันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือ
ภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้น
ไป ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่
เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็นบท
อันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดย
อาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูก
เผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนักเปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตี
แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
 สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน
เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงเปรียบเหมือนเมื่อนาย
ช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้
ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและ
ควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพเปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้
ไม้กอและป่าไม้ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปุริสคติ ประการ
นี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มี
แก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อัน
เป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...
อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา
วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ


โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕


พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๖/๒๘๘ ข้อที่ ๒๘๔ - ๒๘๖
[๒๘๔]  โอรัมภาคิยสังโยชน์  [สังโยชน์เบื้องต่ำ] อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ          [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
๒. วิจิกิจฉา            [ความสงสัย]
๓. สีลัพตปรามาส        [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วย
ศีลหรือพรต]
๔. กามฉันทะ         [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
. พยาบาท          [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]
[๒๘] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] อย่าง
๑. รูปราคะ            [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]
๒. อรูปราคะ           [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]
๓. มานะ              [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]
๔. อุทธัจจะ            [ความคิดพล่าน]
. อวิชชา             [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]



วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จักไม่เงี่ยหูฟัง ธรรมที่มิได้มาจากพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นคำกลอนที่สระสลวย


๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพน
ชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้
ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉัน
ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อัน
ลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้ง
จิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร
อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวก
ภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก
 เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ
ดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสต
ลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๗

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คาถาแผ่เมตตาจิต ในพระไตรปิฎก


แผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง
ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น

คาถาแผ่เมตตากันงูกัด


เรากับพญางูตระกูลวิรูปักขะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูลเอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้า
อย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียดเบียนเรา แลสัตว์ที่เกิด
แล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า จงประสพความ
เจริญ อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา


[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
รู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยัง
จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.


วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยการละขันธ์ ๕ อันไม่ใช่ของใคร


๑. นตุมหากสูตรที่ ๑
  ว่าด้วยการละขันธ์ ๕ อันไม่ใช่ของใคร
[๗๑] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อสุข. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย. รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุข.  เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุข.
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชนพึงนำไป พึงเผา หรือพึงกระทำตามปัจจัย
ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ในเชตวันวิหารนี้ ก็เธอทั้งหลาย พึงคิดอย่างนี้หรือว่า ชน
ย่อมนำไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทำตามปัจจัยซึ่งเราทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ไม่
ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
     พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
     ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสิ่งนั้น ไม่ใช่ตน หรือสิ่งที่นับเนื่องในตนของข้า
พระองค์ทั้งหลาย.
     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จง
ละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละ
วิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้น อันเธอทั้งหลายละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.
            จบ สูตรที่ ๑.

การละขันธ์ ๕


[๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ
รูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูปมีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ
ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะ
กล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด
ก็หามิได้. บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด  ...  เพราะสัญญาใด  ...  เพราะ
สังขารเหล่าใด  ...  เพราะวิญญาณใด  ...  วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว
ทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการ
นับว่าวิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือน
มหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิด
ก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.

วิมุติ คือ


วิมุตติ 2 คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิและปัญญา ได้แก่
  1. เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ
  2. ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง

นิพพานเป็นอย่างไร


ปุริสคติสูตร
     [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและอนุปาทาปรินิพพาน
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบัน
ก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่
กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่
ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญา
อันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือ
ภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้น
ไป ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่
เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็นบท
อันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดย
อาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูก
เผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนักเปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตี
แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
 สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน
เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆนั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงเปรียบเหมือนเมื่อนาย
ช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้
ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟและควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและ
ควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพเปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้
ไม้กอและป่าไม้ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปุริสคติ ๗ ประการ
นี้แล ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มี
แก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อัน
เป็นอดีต ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย
ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ ...
อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา
วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ


วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทสวดมนต์ คาถาเงินล้าน


คาถาเงินล้าน ( เป็นคาถาของพระราชพรหมยาน หรือ ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง )

(ตั้ง นะโม ๓ จบ )
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันต ุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ

จิตหลุดพ้น


นันทิขยสูตรที่ ๑
[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง  ความเห็นของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่ายเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึง
สิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลินเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เรา
จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯภิกษุเห็นใจอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุ
นั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้น
ราคะเพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า
จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
นันทิขยสูตรที่ ๒
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยงความเห็นของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่ายเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึง
สิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลินเพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึง
เรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุเห็นเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า
ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะ
สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๒
นันทิขยสูตรที่ ๓
[๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย และ
จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงใจ โดยอุบาย
อันแยบคายและจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดยอุบาย
อันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๓
นันทิขยสูตรที่ ๔
[๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบาย
อันแยบคายและจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง
ธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็น
จริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึง
สิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔


การลบความจำ

เมื่อเราพยายามจำ สิ่งนั้น ก็จะทำให้เราลืม
เมื่อเราลืม ก็จะทำให้เราไม่ได้ทำในสิ่งนั้น
สิ่งนั้น ไม่ได้หายไปไหน แต่ยังอยู่ในเป็นความจำภายในใจนั่นเอง
ครั้น เมื่อเราปฏิบัติ นั่งกรรมฐาน ความคิดก็จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานที่คั่งค้าง หรือ สิ่งที่เรายังทำไม่เสร็จสิ้น มันจะวนเวียนอยู่อย่างนั้น เหมือนดั่งเช่นการพายเรื่อในอ่าง ทั้งนี้ เพราะเรายังทำมันไม่บรรลุผลสำเร็จนั่นเอง ดังนั้น
ให้เรารีบจด และ รีบนำไปทำให้สำฤทธิ์ผล สิ่งนี้ก็จะไม่นำกลับมาคิดอีกในการปฏิบัติธรรม กรรมฐานครั้งต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕


[๑๐๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำ
ให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[๑๐๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์อันเป็น
ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.
[๑๐๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้น
พึงขยายความออกไปเหมือนมรรคสังยุต)
[๑๐๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงสู่ทิศปราจีน บ่า
ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด
โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[๑๐๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อัน
เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
[๑๐๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด
มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะ
เป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล
(อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต)

ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔


[๘๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้
มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น
เหมือนกัน.
[๘๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติ
ปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มาก
ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ฯลฯ
[๘๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้ สังโยชน์ ๕
เป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล.
[๘๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕
เหล่านี้แล (สติปัฏฐานสังยุต พึงให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)
     แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่สมุทรทั้งสองอย่างๆ ละ ๖
รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่ามรรค.

ว่าด้วยวิธีกำจัดอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕


[๓๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้
๕ อย่างเป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.
[๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ
สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม
เจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ
สัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.

อาศัยศีลเจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน


[๒๗๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่าง
หนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การ
งานที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้ง
อยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน
ไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน


ทารุขันธสูตรที่ ๑
[๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง  พระผู้มีพระภาค
ได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัส
ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำ
พัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่าม
กลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แลท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่ากระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก
ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ ด้วย
ประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพานข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
[๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไรการจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การ
เกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไรอมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร
ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อ
แห่งอายตนะภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง  เป็น
ชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย
เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้
เรียกว่ามนุษย์ผู้จับดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ  หรือด้วยพรหม
จรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุนี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ
คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ
มีการงานปกปิดไว้ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็น
พรหมจารีเป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าความ
เป็นผู้เน่าในภายใน ฯ
[๓๒๔] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ ที่
นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้า
ใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูก
เกลียวน้ำวนๆ ไว้จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ
ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ
น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ
พ. ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ
ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้า
ของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้
บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน
เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก
ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย
ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

ผู้เจริญอริยมรรคเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน


เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึง
เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน 

ขันธมาล


ว่าด้วยขันธมาร
[๓๖๖] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ
แล จึงเรียกว่า มาร?
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เมื่อรูปมีอยู่ มาร (ความตาย) จึงมี
ผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นรูปว่า เป็นมาร
เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์
บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมี
ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย
เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณา
เห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ.
     รา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย.
     รา. ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลายกำหนัด.
     รา. ก็ความคลายกำหนัดเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น.
     รา. ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
      พ. ดูกรราธะ ความหลุดพ้นมีประโยชน์เพื่อนิพพาน.
     รา. นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรราธะ เธอถามเลยปัญหาไปเสียแล้ว เธอไม่อาจเพื่อถือเอาที่สุดของปัญหาได้.
ดูกรราธะ อันพรหมจรรย์เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด อันกุลบุตรย่อมอยู่
ประพฤติแล.

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เพียงแค่เรากำหนดรู้ ลมหายใจ ไม่ว่าอารมณ์ สุข หรือทุกข์ เข้ามา เราก็จะเห็นว่า ทั้งสองสิ่งไม่ได้อยู่กับเรานานเลย

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แปลเอกสารธรรมะ จากพุทธวจน เรื่อง มัคคภาวนา


มัคคภาวนา ได้แก่ 
สติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เส้นทางปฏิบัติ สู่พระนิพพาน โดยสรุป

เส้นทางปฏิบัติ สู่พระนิพพาน โดยสรุป

อริยสัจ 4

ทุกข์ ไม่สบายกาย ควรกำหนดรู้
สมุทัย อยาก ควรละ
นิโรจ ดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง
มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์
อาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
5 ค่ำ เดือน 8 แสดงธรรม ขันธ์ 5

มรรค 8  ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์

ปัญญาชอบ
ดำริชอบ
เจรจาชอบ
การงานชอบ
เลี้ยงชีวิตชอบ
พยายามชอบ
ระลึกชอบ
ตั้งจิตชอบ

อานิสงส์การบวช

ทาน คือ การอบรมจิตให้รู้จักให้
ศีล คือ การอบรมจิตให้ตั้งอยู่ในกุศลธรร­ม
สวรรค์ คือ ผลแห่งจิตที่ตั้งอยู่ในกุศลธรรม
โทษของกามารมณ์ คือ จิตที่ยังรุ่มร้อน แสวงหา เพราะยังยึดมั่นในขันธ์ 5
อานิสงส์การบวชคือ ทุกข์นี้จะดับไป ทุกข์อื่นจะไม่เกิด

ขันธ์ 5 คือ


ขันธ์ 5 คือ

รูป ร่างกาย
เวทนา รู้สึกสุข ทุกข์
สัญญา คือ ควมจำมั่นหมาย
สังขาร คิด ปรุงแต่ง
วิญญาณ คือความรู้อารมณ์ต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

เส้นทางสู่นิพพาน สรุปจากพระวินัยปิฎกแปล เล่ม 1 หน้า 27

ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปราชิก หาสังวาสมิได้ จากพระไตรปิฎกแปล พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 หน้าที่ 27/754

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

ความทุกข์ มีอายุสั้นนัก

ความทุกข์ จริงๆแล้ว มีอายุสั้นนัก แต่เรามักต่ออายุให้มัน ด้วยการคิดวนเวียนซ้ำซาก

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

สรุป พุทธประวัติ ที่สำคัญ

ที่มา
การ์ตูนพุทธประวัติ copy Link สามารถเปิดดู ได้ที่ Youtube

http://www.youtube.com/watch?v=Lotg3KZ4wqs&list=PLC2805CC23C0D0869&feature=plpp_play_all

http://www.youtube.com/watch?v=bbDnmatHnWY&list=PL8C752F73F94A0291&feature=plpp_play_all

http://www.youtube.com/watch?v=r-d2C7iwAng&list=PL77CA334FDBD31D00&feature=plpp_play_all

http://www.youtube.com/watch?v=xvNNgheUXm4&list=PLE904610F35501E9B&feature=plpp_play_all


Buddha Thus Have I Heard - 01 เปิดฉากเริ่มเรื่อง
Buddha Thus Have I Heard - 02 ทรงปฏิสนธิ
Buddha Thus Have I Heard - 03 ประสูติ ณ ป่าลุมพินี
เพ็ญขึ้น15 ค่ำ เดือน 6 ก่อน พุทธศักราช 80 ปี
Buddha Thus Have I Heard - 04 อสิตดาบส ทำนายพระลักษณะ
Buddha Thus Have I Heard - 05 ขนานพระนาม
Buddha Thus Have I Heard - 06 บรรลุปฐมฌาน
Buddha Thus Have I Heard - 07 อภิเษกสมรส
29 พรรษา
Buddha Thus Have I Heard - 08 ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต
ลาหุล บ่วงพันธนาการ
Buddha Thus Have I Heard - 09 เสด็จออกบรรพชา
Buddha Thus Have I Heard - 10 อาหารบิณฑบาตมื้อแรก
7 วัน
Buddha Thus Have I Heard - 11 ปัญจวัคคีย์ออกบวช
Buddha Thus Have I Heard - 12 ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
6 ปี => 35 พรรษา
Buddha Thus Have I Heard - 13 ทรงพระสุบินนิมิต
Buddha Thus Have I Heard - 14 นางสุชาดาถวายข้าว...
Buddha Thus Have I Heard - 15 พญามารกรีธาทัพ
Buddha Thus Have I Heard - 16 ตรัสรู้
15 ค่ำ เดือน 6 45 ปี ก่อนพุทธการ => 45 พรรษา
อนิมิสเจดี 7 วัน
รัตนจงกรมเจดีย์ 7 วัน
ต่อมา 4 สัปดาห์ รัตนฆรเจดีย์ 7 วัน
Buddha Thus Have I Heard - 17 ขับธิดามาร
Buddha Thus Have I Heard - 18 มุจลินทร์
นาคปรก มุจลินทร์ นาคราช
สัปดาห์ที่ 7 หลังตรัสรู้
Buddha Thus Have I Heard - 19 เสด็จป่าอิสิปตนมฤค...
มรรค 8
อริยสัจ 4
ทุกข์ ไม่สบายกาย ควรกำหนดรู้
สมุทัย อยาก ควรละ
นิโรจ ดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง
มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์
อาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
5 ค่ำ เดือน 8 แสดงธรรม ขันธ์ 5
Buddha Thus Have I Heard - 20 ยสกุลบุตรออกบวช
อานิสงส์การบวช

ทาน คือ การอบรมจิตให้รู้จักให้
ศีล คือ การอบรมจิตให้ตั้งอยู่ในกุศลธรร­ม
สวรรค์ คือ ผลแห่งจิตที่ตั้งอยู่ในกุศลธรรม
โทษของกามารมณ์ คือ จิตที่ยังรุ่มร้อน แสวงหา เพราะยังยึดมั่นในขันธ์ 5
อานิสงส์การบวชคือ ทุกข์นี้จะดับไป ทุกข์อื่นจะไม่เกิด


แรม 1 ค่ำ เดือน 11 มีภิกษุ เริ่มเผยแผ่ศาสนา
Buddha Thus Have I Heard - 21 โปรดชฎิลสามพี่น้อง
Buddha Thus Have I Heard - 22 อัครสาวกบรรพชา
Buddha Thus Have I Heard - 23 จาตุรงคสันนิบาต
วันมาฆบูชา ขึ้น 15ค่ำ เดือน 3
ภิกษุมาประชุมโดยมิได้นัดหมาย มี โอวาทปาฏิโมก
Buddha Thus Have I Heard - 24 ฝนโบกขรพรรษ
Buddha Thus Have I Heard - 25 โปรดพุทธบิดา
Buddha Thus Have I Heard - 26 พระราหุลราชกุมารบรรพชา
Buddha Thus Have I Heard - 27 เจ้าชาย ๖ พระองค์ออกบวช
Buddha Thus Have I Heard - 28 พุทธบิดานิพพาน
Buddha Thus Have I Heard - 29 พระนางพิมพาออกบวช
Buddha Thus Have I Heard - 30 เสด็จดาวดึงส์เทวโลก
Buddha Thus Have I Heard - 31 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
Buddha Thus Have I Heard - 32 เทศนาธรรม
มรรค มีองค์ 8
Buddha Thus Have I Heard - 33 โปรดองคุลีมาล
Buddha Thus Have I Heard - 34 โปรดพกาพรหม
Buddha Thus Have I Heard - 35 พิจารณาชราธรรม
Buddha Thus Have I Heard - 36 แสดงโอฬาริกนิมิต
เสด็จ ไปยัง ปาวาลเจดีย์ เมืองไพศาลี
ถ้าเจริญอิทธิบาทสี่ ที่ ปาวาลเจดีย์ แล้วจะทำให้อายุยืนนาวได้ถึง 1 กัปป์ (ประมาณ 100 ปี) หรือ มากกว่านั้น
รูป ปาวาลเจดีย์ เมืองไพศาลี (ไวสาลี)
http://www.guarboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539188373

Buddha Thus Have I Heard - 37 ห้ามมาร
Buddha Thus Have I Heard - 38 ปลงอายุสังขาร
Buddha Thus Have I Heard - 39 รับอุทก
Buddha Thus Have I Heard - 40 พยากรณ์บิณฑบาต ๒ ครั้ง
Buddha Thus Have I Heard - 41 สังเวชนียสถาน ๔
Buddha Thus Have I Heard - 42 ดับขันธปรินิพพาน


วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะ หลวงพ่อ เปลี่ยน ปญญาทีโป วัดอรัญญวิเวก อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่ เรื่อง เคล็ดลับการทำจิตให้ว่าง

เคล็ดลับการทำจิตให้ผ่องใส ก่อนถึงสภาวะจิตว่าง
1. ให้ศึกษาดูจิต และ อารมณ์ของตนว่าเรากำลังทุกข์เรื่องใด
เมื่อเรารู้แล้ว ให้เรานึกถึงบุญกุศล ผลบุญ และคุณงามความดีที่เราเคยได้ทำ และจดจำไว้ เพื่อมาคลายความเศร้าหมอง จนกระทั่งหมดไป
2. เก็บแต่เรื่องดีๆ เรื่องที่ทำให้เรามีความสุขไว้ในจิตใจ
3. ให้นึกถึงแต่เรื่องที่เป็นสุข ก่อนเข้าอารมณ์กรรมฐาน
4. การงานต่างๆ ให้ตัดทิ้งให้หมด ในขณะนั่งปฏิบัติธรรม

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะ หลวงพ่อ เปลี่ยน ปญญาทีโป วัดอรัญญวิเวก อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่ เรื่อง การพิจารณาตัวตน และการปล่อยวาง

ให้แยกกายออกมาเป็นส่วนๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่า ตัวตนเรานั้นเป็นสิ่งสมมุติ ครั้นเมื่อเราแยกออกมาแล้ว ก็จะเห็นว่าไม่มีเขาไม่มีเรา ก็เปรียบเสมือนรถยนต์ ที่ถูกแยกชิ้นส่วนออกมา รถก็ไม่มีแล้ว ดังนั้นทุกสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นล้วนเป็นสิ่งเรียกที่เราสมมุติขึ้นมา